การเพิ่มประสิทธิภาพร้อยละผลผลิตจากกระบวนการขูดปลา

Last modified: July 30, 2020
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การเพิ่มประสิทธิภาพร้อยละผลผลิตจากกระบวนการขูดปลา
Increasing Productivity of Yields from the Fish Scrapping Process
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวกัญญารัตน์ แสนใจ และ นางสาวอนัญญา จันสนาท
Miss Kanyarat Saenchai and Miss Ananya Chansanat
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.ณัฏฐิกา ศิลาลาย และ ดร.สมฤดี ไทพาณิชย์
Dr. Nattiga Silalai and Dr. Somruedee Thaiphanit
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science
ภาควิชา:
Major:
เทคโนโลยีการอาหาร
Food Technology
คณะ:
Faculty:
วิทยาศาสตร์
Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2560
3/2017

การอ้างอิง/citation

กัญญารัตน์ แสนใจ และ อนัญญา จันสนาท. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพร้อยละผลผลิตจากกระบวนการขูดปลา. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

บริษัท ไอ.เอส.เอ แวลู จำกัด เป็นสถานประกอบการที่ผลิตและจัดจำหน่ายทูน่ากระป๋อง เช่น ทูน่ากระป๋องในน้ำมัน ทูน่ากระป๋องในน้ำเกลือ และทูน่าในถุงเพาช์ (Retort Pouch) จากการศึกษาพบว่า ร้อยละผลผลิต (%yield) ในกระบวนการขูดปลาแต่ละวันมีค่าเท่ากับ 44.5-48.6% และเฉลี่ยต่อเดือนมีค่า 46.2-47.3% ซึ่งระหว่างกระบวนการผลิตมีร้อยละการสูญเสีย (%loss) เกิดขึ้นในขั้นตอนการขูดเนื้อปลา ด้วยการใช้แผนภูมิก้างปลาในการพิสูจน์สาเหตุ จากผลการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิก้างปลา โดยพิจารณา 4 ปัจจัย ได้แก่ พนักงาน (Man) วิธีการทำงาน (Method) เครื่องจักร (Machine) และวัตถุดิบ (Material) นำสาเหตุของปัญหาที่วิเคราะห์ได้โดยใช้แผนภูมิก้างปลาจัดลำดับความเสี่ยงของปัญหา เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าสาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของปัญหา ซึ่งพบว่าสาเหตุหลักเกิดจากการเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะที่ใช้ในการขูดหนัง-ขูดเลือดกว้างมากเกินไป พนักงานเก็บเนื้อในหัวปลาและเศษเนื้อปลาจากขูดหนังได้ไม่หมด ซึ่งแนวทางในการแก้ไข โดยการจัดอบรมหัวหน้างานและพนักงาน พร้อมทั้งเน้นย้ำให้พนักงานเก็บเศษเนื้อปลาที่หลุดติดมากับหนังให้หมดเท่าที่เก็บได้ เน้นย้ำให้พนักงานมีความตระหนักในการทำงาน ให้ความสำคัญในการเก็บเศษเนื้อปลาและเพิ่มพนักงาน 1 คน เพื่อให้การคัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ: ปลาทูน่า, ร้อยละผลผลิต, ร้อยละการสูญเสีย, แผนภูมิก้างปลา


Abstract

I.S.A Value Company Limited manufactures canned tuna products, such as canned tuna in oil, canned tuna in brine and tuna in retort pouch. There was around 44.5-48.6% yield from the fish scraping process each day and an average of 46.2-47.3% monthly. We found that yield loss was mostly from fish scraping process. To study the problem, a fish bone diagram was used for cause analysis. The results indicated that there were 4 cause factors consisting of man, method, machine and material. Causes of problem were analyzed using a fish bone diagram in order to rearrange risk ranking and to confirm these were in fact the causes of problem. The main cause found was a wide distance of tables used for fish scraping. In addition, staff could not collect fish meat from the fish head and skin. The solution was proper training from the supervisor and staff, emphasizing on collecting all of the fish meat from heads and skin. Moreover, staff must pay attention to the collection of fish meat and one staff member was added to the fish scraping process to help collect fish meat more effectively.

Keywords:  Tuna, Productivity, Yield, Loss, Fishbone diagram.


การเพิ่มประสิทธิภาพร้อยละผลผลิตจากกระบวนการขูดปลา | Increasing Productivity of Yields from the Fish Scrapping Process

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 728
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code