การตกทอดทางมรดก “สิทธิการเข้าทำประโยชน์” ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01)

Last modified: September 28, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อรายงานการวิจัย: การตกทอดทางมรดก “สิทธิการเข้าทำประโยชน์” ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01)
Research Report: Inheritance of “Rights of Utilization” in Land Reform Zones (Sor.Por.Kor.4-01)
ผู้เขียน|Author: ลัดดาวัลย์ อุทัยนา | Laddawan Uthaina
Email: sarawut.lap@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Laws,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การตกทอดทางมรดก “สิทธิการเข้าทำประโยชน์” ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01)

การอ้างอิง/Citation

ลัดดาวัลย์ อุทัยนา. (2564). การตกทอดทางมรดก “สิทธิการเข้าทำประโยชน์” ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Laddawan Uthaina L. (2021). Inheritance of “Rights of utilization” in land reform zones (Sor.Por.Kor.4-01) (Research Report). Bangkok: Faculty of Laws, Siam University.


บทคัดย่อ

การจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการให้สิทธิในที่ดิน อันได้แก่ การเข้าทำประโยชน์ สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าซื้อ แต่หลังจากที่เกษตรกรรายใดที่ได้รับการจัดที่ดินไปแล้วได้ถึงแก่ความตาย การนำที่ดินดังกล่าวไปจัดให้แก่ทายาทของเกษตรกรผู้ถึงแก่ความตาย หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “การตกทอดทางมรดก” ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ที่กำหนดให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ดังนั้น สิทธิที่ได้รับโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงหมายถึงสิทธิที่เกิดจากการเช่า เช่าซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่รัฐจัดให้ ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นในบทความวิจัยชิ้นนี้ที่มุ่งประสงค์จะวิเคราะห์เฉพาะ   สิทธิการเข้าทำประโยชน์ว่ามีการตกทอดทางมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากการตกทอดทางมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างไร และที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่ยังไม่มีการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) นั้นสามารถตกทอดทางมรดกได้หรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาวิจัยพบว่าที่ดินในเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดินที่ยังไม่มีการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ย่อมมีสิทธิครอบครองได้และสิทธิครอบครองในกรณีนี้ไม่อาจตกทอดไปยังทายาทของเจ้ามรดกได้ เพราะสิทธิครอบครองจะเกิดขึ้นด้วยสาระสำคัญที่ว่าโดยเจตนายึดถือเพื่อตน เมื่อผู้ครอบครองถึงแก่ความตายเจตนายึดถือเพื่อตนของผู้ตายย่อมระงับและสิ้นสุดไปด้วย ส่วนที่ดินที่ได้มีการออก ส.ป.ก. 4-01 ไปแล้วเมื่อเกษตรกรผู้ได้รับอนุญาตถึงแก่ความตายสิทธิดังกล่าวจึงเป็นเพียงสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับอนุญาต เพราะเมื่อพิจารณาจากกระบวนการออก ส.ป.ก. 4-01 แล้ว เห็นได้ว่ามุ่งพิจารณาที่คุณสมบัติของตัวบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็นสำคัญ จึงมิใช่มรดก และแม้ถ้อยคำในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ตลอดจนระเบียบหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง จะใช้คำว่ามรดกก็ตาม ดังนั้น การรับมรดกสิทธิในกรณีนี้จึงมีความหมายเพียงเป็นการจัดที่ดินใหม่ให้แก่ทายาทของเกษตรกรผู้ถึงแก่ความตายเท่านั้น ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าการจัดที่ดินในกรณีนี้ สิทธิที่เกษตรกรผู้ตายได้รับถูกยกเลิกเพิกถอนสิทธิไปก่อนที่เกษตรกรผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วหรือไม่ หากสิทธิดังกล่าวได้ถูกยกเลิกเพิกถอนไปก่อนที่เกษตรกรถึงแก่ความตายย่อมไม่อาจนำสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ที่ไม่มีอยู่แล้วไปจัดให้แก่ทายาทของเกษตรกรผู้ถึงแก่ความได้อีก แต่หากสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ยังคงมีอยู่ หรือต้องด้วยกรณีที่จะต้องทำการยกเลิกเพิกถอนสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 นั้น แต่หากตราบใดที่ยังไม่มีการยกเลิกเพิกถอนและเกษตรกรผู้ได้รับ ส.ป.ก. 4-01 ได้ถึงแก่ความตายไปก่อน ก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำที่ดินแปลงนั้นไปจัดให้แก่ทายาทของเกษตรกรผู้ถึงแก่ความตาย

งานวิจัยชิ้นนี้จึงเสนอแนะให้แก้ไขความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และเสนอให้ปรับปรุงมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการที่เสนอไว้

คำสำคัญ: การตกทอดทางมรดก, สิทธิการเข้าทำประโยชน์, เขตปฏิรูปที่ดิน


ABSTRACT

Land allotment for agricultural purposes pursuant to the law on land reform for agricultural purposes which include rights of utilization, rights of lease, and rights of hire purchase. Following the decease of a land recipient, subsequent land allotment to an heir (inheritance), is subject to Section 39 of the Land Reform for Agricultural Purposes Act B.E. 2518. The section provides that a land acquired through land reform for agricultural purposes shall neither be divided nor the rights thereto be assigned to another person, except in the case of inheritance to a statutory heir or transfer to an agricultural institution. As such, rights received through land reform for agricultural purposes refer to rights of lease, rights of hire purchase, or rights of utilization allotted by the government. This research focuses specifically on right of utilization in government allotted land received by way of inheritance. This research seeks to identify the legal effects of inheritance of rights of utilization in a land reform zone and its similarities and differences in comparison to inheritance pursuant to the Law. Furthermore, the research asks whether and in which manner a plot of land in a land reform zone prior to receiving a certificate of rights of utilization can be inherited as well as whether and how, after a certificate of rights of utilization has been issued, certain acts of an authorized person can affect inheritance.

A research study can be done to describe the land reform zone that has not yet been issued a certificate shall have the right to possession but cannot be inherited to the heir because a person shall acquire possessory right by holding a property with the intention of holding it for himself and shall extinguished by the death of the possession. In the case of land that has been issued a certificate shall extinguished by the death of the authorized agriculturist. Although, the Section 39 of the Land Reform for Agricultural Purposes Act B.E. 2518 and the other relevant regulations provide the word, inheritance. Nonetheless, these rights are the exclusive and sole rights of the authorized due to the authorization process focuses primarily on the qualification of the person being granted permission, not in the inheritance. Therefore, the inheritance rights is only meant as a land rearrangement for the heirs of the death agriculturist. It must be considered whether the land allotment in this case, the right of authorized agriculturist still existing while the death occurs. There are no rights to inherit to an heir if these right is revoked before the agriculturist dies. But if the rights still exists and have not yet canceled, that right can be passed on to the agriculturist’s inheritance.

This research recommendations are seeking to amend Section 39 of the Land Reform for Agricultural Purposes Act B.E. 2518, improve the board resolutions of the Agricultural Land Reform Board and the other relevant regulations.

Keyword: Inheritance, Rights of Utilization, the Land Reform Zone

 

Laws-2021-Research-Inheritance of Rights of Utilization in Land Reform Zones


การตกทอดทางมรดก “สิทธิการเข้าทำประโยชน์” ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01)|Inheritance of “Rights of Utilization” in Land Reform Zones (Sor.Por.Kor.4-01)

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 1
Views: 2441
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles