การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริกไทยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

Last modified: September 4, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริกไทยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
Research Article: Isolation of Lactic Acid Bacteria from Thai Chili Pastes for Inhibiting Bacteria
ผู้เขียน/Author: นิศารัตน์ สุขาบูรณ์ จิตตรานนท์ เสือโต และ อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ | Nisarat Sukaboon, Jittranon Sueto, and Ampun Chaikulsareewath
Email: ampun.cha@siam.edu
ภาควิชา/คณะ: ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Department of Food Technology, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7 | The 7th Academic Science and Technology Conference วันที่ 7 มิถุนายน 2562 มหาวิทยาลัยรังสิต

การอ้างอิง/citation

นิศารัตน์ สุขาบูรณ์ จิตตรานนท์ เสือโต และ อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์. (2562). การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้าพริกไทยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC) ครั้งที่ 7 (หน้า 142-149). อาคารพิฆเนศ ที่: มหาวิทยาลัยรังสิต.


บทคัดย่อ

การศึกษาคัดเลือกแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริก 9 ชนิด ได้แก่ น้ำพริกที่มีส่วนผสมของปลาร้า มี 6 ชนิด คือแจ่วปลาร้า น้ำพริกปลาทูใส่ปลาร้า น้ำพริกปลาร้าสับคั่ว ปลาร้าสับ ซุปมะเขือและน้ำพริกปลาร้า และมีส่วนผสมของกะปิ 3 ชนิด คือ น้ำพริกกุ้งจ่อม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกกะปิลงเรือ พบว่าสามารถคัดแยกแบคทีเรียแลคติกได้ 16 ไอโซเลต จากน้ำพริก 7 ชนิด ซึ่งทุกไอโซเลตจะเจริญในอาหาร MRS agar ผสม CaCO3 เข้มข้นร้อยละ 1 และทำให้เกิด clear zone รอบๆ โคโลนีของเชื้อ พบว่าโคโลนีของเชื้อมีลักษณะผิวเรียบจนถึงผิวขรุขระ นูนน้อยถึงนูนมาก และเมื่อนำมาตรวจดูการย้อมติดสีแกรม พบว่ามีรูปร่างท่อน ติดสีแกรมบวก จำนวน 13 ไอโซเลต ได้แก่ B1, B2, B3, E1, E2, E3, F1, G1, G2, H1, I1, I2 และ I3 และมีรูปร่างกลม ติดสีแกรมบวก จำนวน 3 ไอโซเลต C, G3, H2 พบว่าทั้ง 16 ไอโซเลต ไม่สร้างเอนไซม์แคตาเลส จากการศึกษาความสามารถของแบคทีเรียกรดแลคติก 16 ไอโซเลต ในการยับยั้งเชื้อ Bacillus subtilis TISTR 001, Escherichia coli TISTR 780 และ Staphylococcus aureus TISTR 118  ด้วยวิธี agar well diffusion assay พบว่าแบคทีเรียกรดแลคติกที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อทดสอบ 3 ชนิด ได้แก่ B. subtilis  E. coli และ S. aureus คือ E1 ที่ไม่ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งให้ผลการยับยั้ง inhibition clear zone เท่ากับ 12.33±0.58 14.00±1.73 และ14.00±0.00 มิลลิเมตร ตามลำดับ

คำสำคัญ: น้ำพริก, แบคทีเรียกรดแลคติก, การยับยั้งแบคทีเรีย


ABSTRACT

The isolation of lactic acid bacteria from nine chili pastes was investigated. Nine chili pastes were grouped into two types of chili pastes due to ingredient from “pla-raa” or “ka-pi”. There were 6 types; jaew-pla-raa, nam-prik-pla-too-sai-pla-raa, nam-prik-pla-raa-sub-kua, pla-raa-sub, soup-ma-kaur and nam-prik-pla-raa containing pla-raa and 3 types; nam-prik-kung-jom, nam-prik-ka-pi and nam-prik-ka-pi-long-rae containing ka-pi. Sixteen isolate lactic acid bacteria were isolated from 7 of 9 types of chili pastes which grew in MRS agar with clear zone around their colony. The morphology of them was smooth to rough, convex to very convex. All isolated were examined by Gram’s staining and catalase test. Sixteen isolates were not able to produce catalase and were gram positive bacteria with two different shapes; 13 bacilli shapes (B1, B2, B3, E1, E2, E3, F1, G1, G2, H1, I1, I2 and I3)  and 3 cocci shapes (C, G3, H2).  Antibacterial activity against Bacillus subtilis TISTR 001, Escherichia coli TISTR 780 and Staphylococcus aureus TISTR 118 were conducted using agar well diffusion assay. The isolate E1 (no adjust pH) was the highest against B. subtilis, E. coli and S. aureus with inhibition clear zone at 12.33±0.58, 14.00±1.73 and 14.00±0.00 mm, respectively.

Keywords: Chili paste, Lactic acid bacteria, Inhibiting bacteria.


การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้าพริกไทยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย | Isolation of Lactic Acid Bacteria from Thai Chili Pastes for Inhibiting Bacteria

Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 756
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code