- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาโท|Masters Degree
- LLM
- มาตรการทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการส่งเสริมและสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาต้มยำกุ้ง
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
มาตรการทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการส่งเสริมและสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาต้มยำกุ้ง Legal Measures of Intellectual Property for promoting and inheriting Cultural heritage: A case study of Tom Yum Kung |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาว ปิยะนุช ศิริราชธรรม Miss Piyanuch Sirirachatham |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง Assoc. Prof. Dr. Tavephut Sirisakbanjong |
ระดับการศึกษา: Degree: |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) Master of Laws Program |
สาขาวิชา: Major: |
กฎหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ Private and Business Law |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2561 2018 |
การอ้างอิง/citation
ปิยะนุช ศิริราชธรรม. (2561). มาตรการทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการส่งเสริมและสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาต้มยำกุ้ง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ประกันสิทธิในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแก่ราษฎร และปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs Agreement) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาปกป้องเพียงประโยชน์ทางการค้า แต่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาไม่อาจปกป้องภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และไม่มีกระบวนการส่งเสริมและสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยจึงค้นคว้าและศึกษาหามาตรการทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ปกป้องประโยชน์ทางการค้าควบคู่กับการส่งเสริมการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพร้อมกัน โดยการวิจัยเลือกผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง) เป็นตัวอย่างในการศึกษา ในฐานะที่ผลิตภัณฑ์ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่เป็นสัญลักษณ์ชาติไทย ผลการวิจัยค้นพบว่า ประเทศไทยควรบัญญัติกฎหมายเฉพาะ (sui generis) เพื่อรองรับสิทธิของชุมชนในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง) โดยชุมชนเป็นประธานแห่งสิทธิ ทั้งนี้เนื้อหาสาระสำคัญกฎหมายเฉพาะฉบับนี้ต้องมีกลไกการรับรู้ถึงแหล่งที่มามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง) และการแบ่งปันผลประโยชน์ทางการค้า เมื่อผู้ประกอบการนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไปใช้ต่อยอดผลิตผลิตภัณฑ์ โดยเงินดังกล่าวอยู่ในรูปกองทุน ซึ่งรัฐเป็นเป็นผู้บริหารจัดการร่วมกับชุมชนในการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่และคงไว้ซึ่งความหลากหลายต่อไป โดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดส่งต่อและสงวนรักษา
คำสำคัญ: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา, ผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง)
Abstract
The present Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 (B.E. 2560) has guaranteed the right to cultural heritage to the people, and is in compliance to TRIPs Agreement of World Trade Organization (WTO), where Thailand is a member. Intellectual property law protects only commercial interests, but intellectual property laws cannot protect cultural wisdom and without the process of promoting and inheriting cultural heritage. The researcher studied the legal measures on intellectual property that protect commercial interests, together with promoting the inheritance of cultural wisdom. This research selected Thai food products (Tom Yum Kung) as an example in the study as the product of Tom Yum Kung is a Thai national signature. The research found that Thailand should prescribe specific laws (sui generis) to support the rights of communities in the cultural heritage of Thai food products (Tom Yum Kung). The state and the community members would be the owners of the intellectual property rights. The content of this particular law requires a mechanism to recognize the source, which would be cultural heritage of Thai food products (Tom Yum Kung) and the commercial benefit of sharing when entrepreneurs use the cultural heritage to create the products. Royalties should be given in the form of funds to the state. The state role is the management of the community together with the preservation of cultural heritage to remain and maintain diversity. The community role is the operator of business related to succession, forwarding and preservation.
Keywords: Cultural heritage, TRIPs Agreement, Thai food product ( Tom Yum Kung).
xมาตรการทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการส่งเสริมและสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาต้มยำกุ้ง Legal Measures of Intellectual Property for promoting and inheriting cultural heritage: A case study of Tom Yum Kung
Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand
Related articles
- มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณี ขันลงหิน บ้านบุ
- การควบคุมการใช้สัญญาสำเร็จรูป ศึกษากรณีสัญญาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า
- การจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ภายหลังปลดจากล้มละลายโดยอายุความ
- มาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปแบบของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่
- การขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับต่างประเทศ
- การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
- สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือในทางคดีอญาจากทนายความศึกษากรณี:ปัญหาระบบทนายความขอแรงและการใช้ระบบ Public Defender
- มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว
- ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ผัดไทยเส้นจันท์)