การคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการห้องพักรายวัน

Last modified: November 20, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการห้องพักรายวัน
Protection of Tourists of Daily Rental Services
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวสุภาพร แก้วตา
Miss. Supaporn Kaewta
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Assoc. Prof. Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
นิติศาสตร์
Laws
คณะ:
Faculty:
กฎหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ
Private and Business Law
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

สุภาพร แก้วตา. (2561). การคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการห้องพักรายวัน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวนมาก หันมาให้ความสนใจใช้บริการห้องพักแบบโฮสเทล (Hostels) บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จึงนำที่พักของตนเองแบ่งพื้นที่ ให้เป็นห้องเช่ารายวันเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในแบบของคนรุ่นใหม่ที่มีรูปแบบ ความต้องการห้องพักที่แตกต่างไปจากเดิมและมีความหลากหลายโดยคิดอัตราค่าบริการที่ถูกกว่า การใช้บริการห้องพักในโรงแรม มีการโฆษณาการให้บริการห้องเช่าพักรายวันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นักท่องเที่ยวที่ประสงค์ใช้บริการห้องพักในรูปแบบดังกล่าวสามารถค้นหาห้องพักได้อย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่าการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นำที่พักอาศัยของตน แบ่งพื้นที่ให้เป็นห้องเช่ารายวันนั้นเข้าข่ายการประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 แต่คำนิยามศัพท์ของคำว่า “โรงแรม” ตามมาตรา 4 มิได้บัญญัติครอบคลุมถึงการให้บริการห้องพัก รายวันดังกล่าว ดังนั้น ประเทศไทยควรมีการปรับปรุงแก้ไขคำนิยามศัพท์ให้ครอบคลุมถึงการให้บริการห้องพักรายวันเพื่อให้ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ รวมทั้งกำหนดให้มีมาตรฐานการให้บริการด้านต่างๆ เช่น ด้านการรักษาความสะอาด และด้านสุขอนามัย อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักท่องเที่ยว ควรได้รับจากการใช้บริการห้องพักรายวัน ซึ่งในหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา มีการออกกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์ครอบคลุมถึงทั้งทางด้านความปลอดภัย ด้านสัญญาเช่า เพื่อให้ความคุ้มครองทั้งผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าห้องพักรายวันและนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ

คำสำคัญ: แอร์บีเอ็นบี, ห้องพักแบบโฮสเทล, ผู้บริโภค, นักท่องเที่ยว, ห้องพักรายวัน


Abstract

Nowadays, hostels have become more and more popular among foreigners for daily rent. People, who own any real estate, may easily separate their accommodations to supply travelers’ desires, in aspect to new styles of daily rental. These hostels may cost less than proper hotels and travelers could conveniently search online to find a variety of hostels.

The research found that owners of separated accommodations for daily rents is within the scope of Thai Hotels Act, B.E.2475. However, the definition of “Hotels,” section 4 of the Act, does not include daily rentals as a hotel. Therefore, there is a need to rectify the Act, especially the definition, to cover this type of rental in order to protect travelers, and determine fundamental service standards, such as, cleanness and hygiene. In comparison to other countries, for example, Japan and U.S.A., their laws are combined with safety measure, lease contract regulation etc., in order to protect both daily rental owners and customers

Keywords:  Hostels, Consumer, Tourist, Daily rental room.


การคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการห้องพักรายวัน  Protection of Tourists of Daily Rental Services

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 368
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code