- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา
ชื่อบทความ: | คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา |
Research Article: | Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex |
ผู้เขียน/Author: | พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จันทร์เพ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง | Pheerawat Plangoen… [et al.] |
Email: | pheerawat.pla@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty: | Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 23 วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 จ.นครนายก | The 23rd National Convention on Civil Engineering July18-20, 2018, Nakhon Nayok, Thailand |
การอ้างอิง/citation
พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์, ฐาวัฒน์ ทั่วประโคน, กิตติภพ จันทร์เพ็ญ, ตรีเพชร์ จาโสด และ รณภพ ค่ายหนองสวง. (2561). คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 1-10). นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
Plangoen P…[et al.]. (2018). Physical and mechanical properties of cement mortar modified with rubber latex. In The 23rd National Convention on Civil Engineering (p.1-10). Nakhon Nayok, Thailand: Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA).
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุซีเมนต์มอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์ โดยทางกายภาพพิจารณา ความข้นเหลวปกติของซีเมนต์เพลส, ระยะการก่อตัวเริ่มต้น, ค่าการดูดซึมน้ำ และโครงสร้างทางจุลภาคของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา โดยใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และชุดเอกซเรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (EDS) ส่วนคุณสมบัติทางกลพิจารณากำลังอัด กำลังดึง และกำลังอัดของมอร์ต้าร์ทดสอบที่ระยะเวลา 28 วัน โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5%, อัตราส่วนปูนต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.50 โดยการศึกษาพบว่าซีเมนต์เพลสผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3% และ 5% ได้ค่าระยะการก่อตัวเริ่มต้นเท่ากับ 128 นาที, 123 นาที, 75 นาที และ 35 นาที และค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 5.85, 3.46, 4.68 และ 5.35 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราพบว่าการผสมน้ำยางพาราในมอร์ต้าร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้คุณสมบัติการรับแรงต่างๆ ของมอร์ต้าร์สูงกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานที่ไม่ผสมน้ำยางพารา (P/C = 0%) ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกลพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตรา P/C เท่ากับ 1% ที่มีค่าคุณสมบัติการรับแรงดีที่สุด ได้ค่ากำลังอัด 375 ksc ก าลังดึง 39 ksc และก าลังดัด 65 ksc จากผลการศึกษาแนะนำใช้อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1% ในงานก่อสร้างต่างๆ ที่ใช้มอร์ต้าร์เป็นวัสดุ เช่น ถังเก็บน้ำเฟอร์ซีเมนต์ และคูส่งน้ำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นต้น
คำสำคัญ : มอร์ต้าร์, น้ำยางพารา, สมบัติทางกล, โครงสร้างจุลภาค
ABSTRACT
The aim of this research was to study of physical and mechanical properties of cement mortar modified with rubber latex. The aim regarding physical property is to consider the consistency of cement paste, setting time of cement paste, water absorption, and microstructure by scanning electron microscopy (SEM) and energy dispersive spectroscopy (EDS). While the aim regarding mechanical property is to consider the compressive strength, tensile strength and flexural strength of mortar mixedwith rubber latex and the strength of the structure was tested after 28 days. To test the performance polymer cement ratio (P/C) were mixed in different proportions of 0%, 1%, 3% and 5% by weight to prepare the solution. Water and cement were mixedin the proportion of 0.50 (w/c) and cement sand ratio 1:2 by weighting.
The results of study shown that initial setting time of cement paste mixed with rubber latex at polymer cement ratio (P/C) 0%,1%, 3% and 5% with 128, 123, 75, and 35 minutes and water absorption 5.85%, 3.46%, 4.68% and 5.35% respectively. Based on the mechanical properties of mortar modified with rubber latex, it was found that the proper mixing of rubber latex in mortar gave high strength properties when compared with standard mortar (P/C = 0%). The experiment of mechanical properties of mortar modified rubber latex showed that the polymer cement ratio (P/C) of 1% gives the best performance with 375 ksc of compressive strength, 39 ksc of tensile strength and 65 ksc of flexural strength. Based on the results of this study, polymer cement ratio (P/C) of 1% by weight is most recommended to be used with various types of mortar structures such as ferro-cement water tank and ferro-cement ditch lining.
Keywords: mortar, rubber latex, mechanical properties, microstructure.
คุณสมบัติกายภาพและทางกลของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพารา|Physical and Mechanical Properties of Cement Mortar Modified with Rubber Latex
Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand