การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา: กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี

Last modified: June 24, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา: กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี
Research Article: Project-Based Learning via Cooperative Education: A case study of a design and construction of Radiator Leak Testing Machine Controlled by PLC
ผู้เขียน/Author: ยงยุทธ  นาราษฎร์ และ วิภาวัลย์  นาคทรัพย์ | Yongyuth  Naras  and Wipavan  Narksarp
Email: yongyuth.nar@siam.edu and wipavan.nar@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Electrical Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุม International and National Conference on Engineering Education ครั้งที่ 17

การอ้างอิง/citation

ยงยุทธ  นาราษฎร์ และ วิภาวัลย์  นาคทรัพย์. (2562). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี. ใน รายงานการประชุม การประชุม International and National Conference on Engineering Education ครั้งที่ 17 (หน้า 89-100). นครปฐม: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.


บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยสยาม กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี เครื่องทดสอบนี้ได้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของคนในการตรวจสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ในสายการผลิตของบริษัท ซีเอช โอโตพาร์ต จำกัด โดยส่วนแรกเป็นนำเสนอระบบการดำเนินงานสหกิจศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามโดยสรุป จากนั้นเป็นการนำเสนอในรายละเอียดของเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำที่ได้สร้างขึ้นนี้ เครื่องทดสอบนี้ถูกออกแบบโดยใช้วิธีการทดสอบแบบแห้ง การทดสอบทำได้โดยการใช้อากาศที่มีแรงดันผ่านหม้อน้ำที่ปิดผนึก อากาศที่มีแรงดันในหม้อน้ำจะถูกวัดและแสดงผล ถ้าความดันเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในหม้อน้ำ นั่นหมายความว่าหม้อน้ำไม่มีการรั่วซึม แต่ถ้าความดันลดลงอย่างฉับพลันนั่นหมายความว่าหม้อน้ำมีการรั่วซึมแล้วหม้อน้ำนั้นก็จะถูกส่งกลับไปทำการแก้ไข ขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการออกแบบโครงสร้างทางกลของเครื่องก่อนการเชื่อมต่อระหว่าง PLC และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตถูกออกแบบและติดตั้ง จากนั้นชุดคำสั่งของ PLC จะถูกโปรแกรม ผลการทดสอบการทำงานของเครื่องต้นแบบได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

คำสำคัญ: สหกิจศึกษา, เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, เครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำ, พีแอลซี


ABSTRACT

This paper presents a project-based learning via Siam University cooperative education with focus on a case study of a design and construction of a radiator leak testing machine controlled by PLC. The machine was designed and constructed to solve a problem caused by human error in checking the leak of the radiator in a production line of CH Autopart Company Limited. Firstly, the cooperative education system of department of electrical engineering, faculty of engineering, Siam University is proposed concisely. Thereafter, the details of the radiator leak testing machine are proposed. The machine was designed using dry testing method. The test is accomplished by applying a pressurized air through the enclosed radiator, the pressurized air in the radiator is measured and monitored. It is noted that if the pressure increases uniformly in the radiator, that means the radiator does not leak. But if the pressure suddenly drops that means the radiator has a leak, then it will be returned to be fixed. The procedure started from the design of mechanical construction of the machine. The interfacing between PLC and input/output devices was designed and installed. Then, the PLC instruction set were programmed. The test results of the prototype can be satisfactory.

Keywords:  Cooperative Education, Project-Based Learning, Radiator Leak Testing Machine, PLC

Design and Construction of Radiator Leak Testing Machine Controlled by PLC.


การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 295
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code