- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะศิลปศาสตร์
- -สาขาวิชาการโรงแรม
- โคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
โคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้ Resin Lamp from Leftover Flowers |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวพิมพ์ปวีณ์ วีระสูตร, นางสาวกนกนาถ พันธารักษ์, นางสาวชิดชม ภู่พวง Ms. Phimpawi Veerasoot, Ms. Kanoknart Pannarak, Ms. Chitchom Phupuang |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์อัคร ธนะศิรังกูล Mr. Akhara Thanasirangkul |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2562 3/2019 |
การอ้างอิง/citation
พิมพ์ปวีณ์ วีระสูตร, กนกนาถ พันธารักษ์ และ ชิดชม ภู่พวง. (2562). โคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานโคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้ เป็นการนำดอกไม้เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นการสร้างสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับดอกไม้เหลือใช้ ทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการนำดอกไม้เหลือใช้มาทำเป็นโคมไฟ ซึ่งช่วยลดปัญหาขยะและมลพิษ อีกทั้งยังเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดอีกด้วย
หลังจากทางคณะผู้จัดทำ ได้ทดลองทำโคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้ และได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้โคมไฟ โดยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน 10 คน ผลการทดลองครั้งที่ 1 พบว่า โคมไฟชิ้นแรกยังไม่เป็นที่พึงพอใจ จึงได้ทำการทดลองทำโคมไฟชิ้นที่ 2 ผลการทดลองครั้งที่ 2 จากกลุ่มตัวอย่างเดิม พบว่า โคมไฟ ชิ้นที่ 2 เป็นที่น่าพึงพอใจมากกว่าโคมไฟชิ้นแรก สรุปผลสำรวจจากแบบสอบถาม พบว่า โคมไฟชิ้นที่ 2 ดีกว่าโคมไฟชิ้นแรก ในด้านความสวยงาม ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ รวมถึงความคิดเห็นหลังการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแสงสว่างและการใช้งานจากโคมไฟ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะที่อยากให้ปรับปรุง และแก้ไขเพิ่มเติม คือ เรื่องของสี ดอกไม้ และความใสของเรซิ่น
คำสำคัญ: โคมไฟ, เรซิ่น, ดอกไม้เหลือใช้
Abstract
The resin lamp from leftover flowers project used recycled waste flowers to create a new product as an option for customers and to add value to the waste flowers. The result of the study and research shows that leftover flowers were able to make lamps and this recycle strategy could help reduce waste and pollution problems.
Once the team tried to build a resin lamp from waste flowers, they conducted a survey from the people who used the lamp by distributing questionnaires to the group of 10 people. The first result showed that the first lamp didn’t match their satisfaction. Therefore, a second lamp was made and the results of the second lamp from the original sample showed that the second lamp was more satisfactory than the first lamp. The survey results from the questionnaire found that the second lamp was better than the first one regarding beauty, equipment suitability,
design creativity. The term suggests to improve the color, flower and clarity of resin to fully satisty customers.
Keywords: Lamp, Resin, Recycled flowers.
โคมไฟเรซิ่นจากดอกไม้เหลือใช้ | Resin Lamp from Leftover Flowers
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand