การศึกษาเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี

Last modified: January 11, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี
Study of electrical energysaving for Muban Chombueng Rajabhat University Ratchaburi province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นาย สันติภาพ กั้วพรหม
Mr. Santiparp Kuaprom
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย  ริจิรวนิช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์  โสตรโยม
Asso. Prof. Dr. Vanchai  Rijiravanich, Asst. Prof. Dr. Arthit  Sode-Yome
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

สันติภาพ กั้วพรหม. (2561). การศึกษาเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า และนำเสนอมาตรการเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าในอาคารควบคุม สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  ซึ่งเป็นอาคารควบคุมภาครัฐตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 โดยใช้สถานที่ในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ อาคารในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ทั้งหมด 46 อาคาร โดยเลือกอาคารจำนวน 5 อาคาร ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจและบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้า มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า

ผลการวิจัยพบว่า 1) มหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้ามาตลอด แต่แนวโน้มค่าพลังงานไฟฟ้ายังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ ในอาคารกลุ่มตัวอย่าง พบว่าสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบปรับอากาศและระบบแสงสว่าง สาเหตุหลักคืออุปกรณ์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานเกิน 10 ปี มีประสิทธิภาพต่ำ และขาดการบำรุงรักษา  2) การศึกษามาตรการต่างๆ เพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าพบว่า มาตรการที่เหมาะสมเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จำนวน 7 มาตรการ แบ่งเป็น มาตรการด้านระบบแสงสว่าง  3 มาตรการ และมาตรการด้านระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน 4 มาตรการ โดยมีอาคารกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 อาคาร 3) ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 7 มาตรการสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไม่ได้นำมาใช้ โดยมาตรการด้านระบบแสงสว่าง ที่ประหยัดพลังงานได้มากที่สุดคือการเปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดพลังงานชนิด LED สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลดลง 25.4 W/ชุด คิดเป็นร้อยละ 58.39 ของหลอดชนิดเดิม แต่มีการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนที่สูง คือ 2.17 ปี ส่วนมาตรการด้านระบบปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานได้สูงสุดคือ มาตรการลดเวลาใช้เครื่องปรับอากาศ  1 ชั่วโมง/วัน  สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงร้อยละ 12.49 ของการไม่ใช้มาตรการ ซึ่งประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ทันทีเมื่อดำเนินมาตรการ  ส่วนมาตรการที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้น้อยที่สุด คือบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน  สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงร้อยละ 7.78 จากการไม่บำรุงรักษา

คำสำคัญ: ระบบแสงสว่าง, ระบบปรับอากาศ, การอนุรักษ์พลังงาน


Abstract

The purposes of the research were to analyze the electricity power usage and to propose measures to save electricity costs for government controled building, according to the Energy Conservation Promotion Act BE 2535 of Muban Chombueng Rajabhat University, Ratchaburi Province. The buildings located in the university were used to collect research data comprising   of 46 buildings. Fire (5) buildings, were used as the sample for this work. The tools used in the research were survey questionnaires and recording of electrical energy usage Kilowatt-hour Meter, Electric power voltage and electric current meter.

The research findings showed that: 1) the university had taken many steps to reduce the use of electricity, but the trend of electrical energy costs has increased continuously. From analyzing electrical energy consumption data of the sample buildings, the proportion of electrical energy usage was mainly in air conditioning and lighting systems.  The most common causes of wasteful electrical charge were the old electrical equipment that had been used for over 10 years, with low efficiency and lacked of maintenance;

2) After various measures to save electricity costs were examined, there were seven practical measures implemented to save electricity costs more than 5%, which consisted of 3 measures of lighting systems and 4 measures of separate air conditioning systems.  After all measures were taken to experiment with the 5 sample buildings, every measure saved electrical energy more than 5%, compared to not being applied. In regards to lighting system measures, the most energy-saving was switching to use the energy-saving LED lamps. Each set of LED lamps saved electrical energy of 25.4 Watt, representing 58.39% savings from the original type of lamps. In addition, this category has high investment and payback period of 2.17 years.  According to the air conditioning system measures, the highest energy-saving category was reducing air conditioning usage by at least 1 hour/day. This measure can save electricity costs by 12.49% compared with non-use guidelines and can save energy costs immediately when implemented. However, the category that saved minimum energy costs was maintenance of a split-type air conditioner, which can save electricity costs, down by 7.78 percent compared with non-maintenance.

Keywords:  Lighting system, Air-conditioning system, Energy Conservation.


 M-Eng-2018-THESIS-Study of Electrical Energy Saving for Muban Chombueng Rajabhat University, Ratchaburi Province

การศึกษาเพื่อประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี/ Study of electrical energysaving for Muban Chombueng Rajabhat University Ratchaburi province

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 714
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles