Last modified: May 18, 2022
You are here:
- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะพยาบาลศาสตร์
- ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล
Estimated reading time: 1 min
In this article
- 1. การอ้างอิง/citation
- 2. บทคัดย่อ
- 3. ABSTRACT
- 4. Link to Publication
- 5. Link to PDF
- 6. ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล|The Effects of Brain Base Learning on Academic Achievement and Attitude in Studying Psychiatric Mental Health Nursing of Nursing Students
ชื่อบทความ: | ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล |
Research Article: | The Effects of Brain Base Learning on Academic Achievement and Attitude in Studying Psychiatric Mental Health Nursing of Nursing Students |
ผู้เขียน/Author: | พุทธวรรณ ชูเชิด และ สุลีมาศ อังศุเกียรติถาวร | Puthawan Choocherd, Suleemas Angsukaittitavorn |
Email: | puthawan.cho@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่ | วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 ก.ค.-ธ.ค. 2560 หน้า 65-80 |
การอ้างอิง/citation
พุทธวรรณ ชูเชิด และ สุลีมาศ อังศุเกียรติถาวร. (2560). ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(35), 65-80.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลที่ใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานในการเรียนกับการเรียนแบบปกติที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 จํานวน 60 คน ที่ได้มาจากการจับคู่คุณสมบัติโดยใช้ค่าผลการเรียนเฉลี่ยเป็นเกณฑ์แล้วนํามาสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ใช้เวลาในการวิจัย 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานและแบบวัดเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบสถิติที่ไม่เป็นอิสระจากกันและสถิติที่ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการเรียนรู้โดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ (t=0.46, p=0.65 และ t=-1.39, p=0.17) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ ของกลุ่มควบคุมก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แบบปกติไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ (t=-0.73, p=0.47) 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติของกลุ่มทดลองสูงขึ้นหลังการเรียนรู้โดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t=-3.43, p<.05) ผลการศึกษาเป็นหลักฐานว่าการเรียนรู้ที่ใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานเพิ่มเจตคติต่อการเรียน ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรนําการเรียนรู้ที่ใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมเจตคติและศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบอื่นเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
คำสำคัญ: การเรียนรู้โดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติ, นักศึกษาพยาบาล, การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ABSTRACT
This quasi- experimental research aimed to study of brain based learning on academic achievement and attitudes in psychiatric mental health nursing. This experimental study, which was designed as pre and posttest control group model, was conducted in 2014 academic year at faculty of nursing in private University Bangkok Thailand. Sixty nursing students were randomly divided equal into each group. The experimental group was administered a brain-based learning approach, while the control group was administered a traditional teaching approach for 5 weeks. The data were obtained through the attitude questionnaires. The Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaires was 0.93. The final exam scores were collected. The data were analyzed using dependent and paired t-test.
The results illustrated that 1. The final score and attitudes score of a control group and an experimental group were not statistically significant (t=0.46, p=0.65 and t=-1.39, p=0.17). 2. Attitude score of a control group at pretest was not statistically significant (t=-0.73, p=0.47). 3. Attitude score of an experimental group at posttest significantly higher than that of pretest (t=-3.43, p<.05). It was evidence that a study of brain based learning help to increase attitude for study in psychiatric mental health nursing. The researchers recommended using brain based learning as learning program for nursing students and provides directions for future research based on alternative methodologies.
Keywords: brain based learning (BBL), academic achievement, attitudes, nursing student, mental health and psychiatric nursing
ผลการสอนโดยใช้หลักการพัฒนาสมองเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาล|The Effects of Brain Base Learning on Academic Achievement and Attitude in Studying Psychiatric Mental Health Nursing of Nursing Students
Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand
Posted by: MBA
Tags: Academic Year 2017 Articles Articles 2017 Dr. Puthawan Choocherd Nursing Articles Nursing Articles 2017 Suleemas Angsukaittitavorn TCI TCI 2 Thai Journal Citation Index-TCI 2 ฐานข้อมูล TCI 2 ดร. พุทธวรรณ ชูเชิด ดร.สุลีมาศ อังศุเกียรติถาวร - Dr. Suleemas Angsukaittitavorn บทความวิชาการ บทความวิชาการ 2560(Paper 2017) บทความวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ บทความวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ 2560 ปีการศึกษา 2560 วารสารกลุ่มที่ 2 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย วารสารกลุ่มที่ 2
Views: 235
Related articles
- ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรมของโรงเรียนอาชีวศึกษา
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุกับการสอนแบบปกติ