มาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปแบบของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่

Last modified: September 8, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
มาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปแบบของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่
The Measures to Relieve Damage Resulting from Smoke Cigarettes Through a Smoke Cigarette Compensation Fund
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายวัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์
Mr. Watcharaphong Phiphitphanphong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รศ.เพชรา จารุสกุล
Assoc. Prof. Petchara Charusakul
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
นิติศาสตร์
Laws
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2558
2016

การอ้างอิง/citation

วัชรพงศ์ พิพิธพรรณพงศ์. (2558). มาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปแบบของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

ปัจจุบันในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวคือ กฎหมายลักษณะละเมิดแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 แต่กฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่โดยเฉพาะ และยังไม่เหมาะสมต่อการบังคับใช้ในกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากควันบุหรี่ เพราะว่ากฎหมายทั้งสองฉบับยังมีปัญหาที่เป็นปัญหาต่อตัวผู้ได้รับความเสียหายเอง และยังไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะทำให้ผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ใช่เป็นวิธีในการเรียกร้องให้จำเลยหรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจากควันบุหรี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เยียวยาความเสียหาย โดยขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา บังคับให้ตามคำร้อง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพื่อเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ ทำให้ต้องนำกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ควรมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยกฎหมายอื่นมาปรับใช้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ได้รับความเสียหายจะได้รับการเยียวยาอย่างแท้จริง

ผลการศึกษาค้นคว้าตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า กฎหมายว่าด้วยลักษณะละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 กองทุนต่างๆ และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ ซึ่งมาตรการต่างๆ ในประเทศไทยพบว่าไม่สามารถที่จะช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับความเสียหายดังกล่าว มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่จะต้องใช้สิทธิทางศาล อันมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจนกระทบสิทธิของผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่อย่างที่ไม่ควรจะเป็น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนำเทียบเคียงต่อการออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่ และได้ค้นพบวิธีการนำค่าปรับมาเป็นเงินอุดหนุนกองทุนโดยเทียบเคียงคล้ายกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมถึงวิธีการพิสูจน์ตัวผู้กระทำความผิดในหลักความรับผิดเด็ดขาด ตามกฎหมายความรับผิดพิเศษ (special liability) แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดผลิตภัณฑ์ ค.ศ.1997 มาตรา 402A ประเทศสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีข้อเสนอว่า ควรที่จะมีมาตรการในการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ขึ้น โดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบุหรี่ โดยการจัดให้มีกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปกฎหมายพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนเพื่อการเยียวความเสียหายจากควันบุหรี่ พ.ศ….นั้น โดยการตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นผ่านการยินยอมของรัฐสภาและพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย และควรจัดให้มีรูปแบบของกองทุนโดยองค์ประกอบและสาระสำคัญเทียบเคียงคล้ายกับกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 แต่ให้มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่เพียงอย5างเดียวโดยเฉพาะ ทั้งนี้โดยการบัญญัติกฎหมายขึ้นรองรับซึ่งกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่ พ.ศ…. ควรมีองค์ประกอบและสาระคือ (1) วัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่ (2) แหล่งที่มาของกองทุน (3) การบริหารกองทุน (4) ขอบเขตในการจ่ายเงินเยียวยา

 


Abstract

The objective of this Thesis is, to study a problem of “Tort Law in Health Protection of non-smoking Acts. 1992 (B.E. 2535)”, including of other measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes through a smoke cigarette compensation fund; so how much efficiency of it?. Nowadays, the result from research found that measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes; it’s inappropriate with damage resulting from smoke cigarettes and does not work. On the other hand, “claim to Court of Justice”, is the last decision for measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes, but it’s waste the time and there are a lot of obstacles to sufferers in juridical process. So that, the researcher selects “Description  Comparative Research” to studies by focus on secondary data.

From the research result of Tort Law in Health Protection of nonsmoking Acts. 1992 (B.E. 2535), including of other measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes through a smoke cigarette compensation fund. The researcher was found that; measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes in Thailand, it does not work; because the only way to do is “claim to Court of Justice” which full of problems and obstacles in process, and effect to rights of sufferers who damage resulting from smoke cigarettes as worst.

The objective of this Thesis is to study a comparison between ‘Health Promotion fund’ and ‘A smoke cigarette compensation fund’, and found the way to convert fee to compensate by comparison with ‘The Narcotics Control Acts.’ Including of liability criminal proof by special liability of Product liability Acts B.C.

1997 section 402A, United States of America. Thus, the suggestion from this Thesis is; we should to have measures to relieve damage resulting from smoke cigarettes; by create “A smoke cigarette compensation fund”, which the objective to “relieve damage resulting from smoke” in term of ‘Tort Law in smoke cigarette compensation fund B.E. …… To enact by parliament and His Majesty the King issued a royal command to approve as legalization. Furthermore essential elements should be close to ‘Health Promotion fund B.E. 2544’, but different in the objective to relieve damage resulting from smoke cigarettes only. By the way, this enact is supporting to smoke cigarettes through a smoke cigarette compensation fund B.E. …… , should has essential elements as following; (1) The objective of smoke cigarettes through a smoke cigarette compensation fund. (2) Resource of fund. (3) Fund management, and (4) Scope of compensation.

 


มาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากควันบุหรี่ในรูปแบบของกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายจากควันบุหรี่ / The Measures to Relieve Damage Resulting from Smoke Cigarettes Through a Smoke Cigarette Compensation Fund

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 206
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code