การศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงานปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร

Last modified: July 20, 2023
You are here:
  • KB Home
  • Bachelor Degree
  • การศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงานปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงานปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
The Study of Guidelines for Developing a Large Hospital Hearing Conservation Program in the Central Sterile Supply Department in Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวณัฐลีน สั่นสะท้าน
Ms. Natthaleen Sansatan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.วิทยา ชาญชัย
Dr.Withaya Chanchai
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science (B.Sc.)
ภาควิชา:
Major:
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Occupational Health and Safety
คณะ:
Faculty:
สาธารณสุขศาสตร์
Public Health
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2/2565
2/2022

การอ้างอิง|Citation

ณัฐลีน สั่นสะท้าน. (2562). การศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงานปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Sansatan N. (2022). The study of guidelines for developing a large hospital hearing conservation program in the central sterile supply department in Bangkok. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Public Health, Siam University.


บทคัดย่อ

     แผนกปราศจากเชื้อกลางเป็นแผนกหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีการรับเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์มาทําความสะอาดและทําให้ปราศจากเชื้อ โดยแผนกดังกล่าวเป็นแผนกที่มีอุปกรณ์ที่มี ความเสี่ยงต่อการทําให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพในหลายด้าน ซึ่งการทํางานในขั้นตอนในการใช้ เครื่องมือเป่าเพื่อหาให้เครื่องมือแพทย์แห้งหลังจากการทําความสะอาดแล้วนั้น เป็นกระบวนการที่มี การสัมผัสเสียงตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงาน ปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ ในการควบคุมการทํางานที่ต้องสัมผัสเสียงดังเกินมาตรฐานและเฝ้ารกําหนดมาตรการ โดยใช้เทคนิคการ วิเคราะห์อันตรายในงานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis; JSA) และประเมินความเสี่ยง จากโอกาสที่จะเกิดอันตรายและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพในอนาคต

     จากผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์งานและการวัดระดับเสียงจากการปฏิบัติงานใน กระบวนการทํางานในการใช้เครื่องมือเป่าเพื่อทําให้เครื่องมือแพทย์แห้งหลังจากการทําความสะอาด แสดงให้เห็นว่าหลังจากให้ความรู้เกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในแผนกปราศจากเชื้อกลาง Central Sterile Supply Department (CSSD) พบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจในการอบรมและทํากิจกรรมให้ความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากนั้นได้จัดหาแนวทางมาตรการป้องกันการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อป้องกันอันตรายจากเสียงดังได้อย่างเหมาะสมและเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยินจากการทํางานอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง ทั้งนี้องค์กร สามารถนํามาตรการการอนุรักษ์การได้ยินไปใช้ให้เกิดประโยชน์และบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนา มัยและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คําสําคัญ : วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย, มลภาวะทางเสียง, มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน


Abstract

The Central Sterile Supply Department (CSSD) is a department where medical instruments and equipment are received for cleaning and sterilization. This department has equipment that has a risk of causing various occupational diseases. The work process uses a blow dryer to dry the medical device after cleaning and sound is consistent. The aim of this oss amo study was the prevention of hearing loss among employees and create measures to control exposure to noise that exceeds the standard required by law. By using Job Safety Analysis techniques for safety (JSA) and assessing risks for the likelihood of harm and severity that occurs for future occupations.

A research of JSA techniques and operational noise level measurements in the work process of using blow dryers to dry medical devices after cleaning showed that after educating workers about hearing loss from exposure to loud noises in the Central Sterile Supply Department (CSSD). It was found that the workers were highly satisfied with the training and knowledge-sharing activities. Then, a guideline for preventive measures for hearing conservation programs was established to prevent danger from loud noise and monitor hearing loss of working properly and continuously. The organization can effectively use hearing conservation measures to benefit and manage occupational health and safety.

Keywords: Job Safety Analysis (JSA), noise pollution, hearing conservation programs


  การศึกษาแนวทางการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในหน่วยงานปราศจากเชื้อกลางในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
The Study of Guidelines for Developing a Large Hospital Hearing Conservation Program in the Central Sterile Supply Department in Bangkok   

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Public Health, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 172
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print