การใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย
The Use of Good Governance in the Performance of Arbitrator in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายรัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ
Mr. Rattasidhi Kurusuwan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศ.พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, รศ.ดร.ปภาศรี บัวสวรรค์
Prof.Dr.Yuwat Vuthimedhi, Assoc.Prof.Dr.Praphasri Buasawan
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
Published/แหล่งเผยแพร่:
http://www.benjamitvichakarn.org/
รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ. แนวทางการปรับใช้หลักธรรมาภิบาลในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ “เบญจมิตรวิชาการ” ครั้งที่ 8, หน้า 129-136. วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธนบุรี
http://www.polsci-law.buu.ac.th/journal/index.php/menu4
รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ และ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทางกฎหมายกับการระงับข้อพาทโดยอนุญาโตตุลาการ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): หน้า 513-529
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru
รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ และ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. การใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักนิติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุ่งเก่า. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2563: หน้า 63-70

การอ้างอิง|Citation

รัฐสิทธิ์ คุรุสุวรรณ. (2563). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Kurusuwan R. (2020). The use of good governance in the performance of Arbitrator in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขอบเขตในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการไทย  2) ศึกษาแนวความคิดในการปรับใช้ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานด้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ  3) ศึกษาหาความสอดคล้องของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ 4) เสนอแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความสัมฤทธิผล และความคุ้มค่า ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งหมด 25 คน ได้แก่ อนุญาโตตุลาการ จำนวน 5 คน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จำนวน 5 คน ข้าราชการในสถาบันอนุญาโตตุลาการ จำนวน 5 คน คู่กรณีในการที่ได้นำข้อพิพาทพิจารณาในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ จำนวน 5 คน และข้อมูลจากการประชุมสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน

ผลการวิจัยพบว่าการใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของอนุญาโตตุลาการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความสัมฤทธิผล และความคุ้มค่า ในการปรับใช้กับการปฏิบัติงานด้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ สามารถนำหลักการของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทั้ง 6 ประการมาดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการได้อย่างมีความสัมฤทธิผล และคุ้มค่า ในการสร้างความยุติธรรม และความพึงพอใจของคู่กรณีและสังคม เป็นการชี้ชัดอย่างมีนัยสำคัญว่าการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทในกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่งนั้น การพิจารณาตัดสินชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้เป็นที่ยอมรับของคู่กรณีและสังคมส่วนรวม ที่ใช้หลักธรรมาภิบาล มาเป็นหลักปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ

คำสำคัญ: หลักธรรมาภิบาล, การปฏิบัติหน้าที่, อนุญาโตตุลาการ, ความสัมฤทธิผล, ความพึงพอใจของคู่กรณีและสังคมส่วนรวม


Abstract

The objectives of this research were: 1) To study the scope of good governance on the important performance of arbitrators, including operational problems in performing duties of arbitrators in Thailand; 2) To study concept of good governance in applying to dispute resolution by arbitrators; 3) To study the consistency of good governance indictors and dispute resolution by arbitrators for efficiency, effectiveness and accomplishment by empirical studies; 4) To provide guidance on the performance of duties of arbitrators in accordance with the six good governance principles for efficiency, effectiveness and achievement. This study used the qualitative research methods. The total key informants were 25 people, from of 5 persons in each of five groups.  1) Arbitrators 2) Executives and Officers of the Office of the Public Sector Development Commission  3) Civil Servants in Arbitration Institute 4) the Parties involved in the Arbitration process and  5) the Group Discussion Meeting.

The research found that scope of arbitrator’s performance was important for efficiency, effectiveness and accomplishment of creating justice and peace. With the concept of good governance when applied to dispute resolution operations by an arbitrator, can make it useful and important toward to the use of good governance in the performance of duties of the arbitrator. Especially the consistency of good governance indicators with dispute resolution by an arbitration by bringing legal good governance. The indictors of these good governance were appropriate to apply for arbitrator’s good governance principles with efficiency, effectiveness and accomplishment significant.

Keywords: Arbitrator, Performance, Good Governance, Accomplishment, Satisfaction of the society.


การใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย | Use of Good Governance in the Performance of Arbitrator in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 646
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code