การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร

Last modified: July 7, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร
Research Article: Production Capacity Increment for the Machine Spare Parts Production Line
ผู้เขียน/Author: อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และ จุมพล บำรุงวงศ์ | Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong
Email: amarin.won@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Engineering in Industrial Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2560 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12-15 กรกฎาคม 2560 เชียงใหม่ | IE Network Conference 2017: Industry 4.0 Challenges for Thailand July 12-15, 2017

การอ้างอิง/citation

อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และ จุมพล บำรุงวงศ์. (2560). การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2560 (หน้า 953-958). เชียงใหม่: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Wongsetti, A. & Bamrungwong, J. (2017). Production capacity increment for the machine spare parts production. In IE Network Conference 2017: Industry 4.0 Challenges for Thailand (pp. 953-958). Chiang Mai: Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University.


บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรตามความต้องการของลูกค้าซึ่งประยุกต์ใช้กระบวนการแก้ปัญหาแบบคิวซีสตอรี่เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการที่เป็นคอขวดในสายการผลิต จากศึกษาเวลาของกระบวนการพบว่าในขั้นตอนการตัดปาดผิ้วชิ้นงานของกระบวนการซีเอ็นซีคือกระบวนการที่เป็นคอขวดในสายการผลิต ดังนั้นจึงทำการปรับปรุงโดยการประยุกต์หลักการฟังก์ชั่นโมดูลพิเศษของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านงานผลิตเข้ามาลดเวลาการตัดปาดผิวชิ้นงานเพื่อวิเคราห์หาค่าความเร็วรอบและอัตราป้อนของงานกัดรวมทั้งสร้างเส้นทางของคมตัดอย่างเหมาะสม ผลการปรับปรุงพบว่าสามารถลดรอบเวลาการผลิตเครื่อง CNC จาก 978 วินาที/ชิ้นเป็น 688 วินาที/ชิ้น จากเป้าหมาย 728 วินาที/ชิ้น   และสามารถเพิ่มความสามารถการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรจาก 67 ชิ้น/วัน เป็น
94 ชิ้น/วัน จากเป้าหมาย 89 ชิ้น/วัน หรือ 1,675ชิ้น/เดือน เป็น 2,350 ชิ้น/เดือน จากเป้าหมาย 2,208 ชิ้น/เดือน

คำสำคัญ: ความสามารถในการผลิต, คิวซีสตอรี่, เทคไทม์, ซีเอ็นซี


ABSTRACT

This thesis aims to enhance the production capacity of the spare part‘s boring machine manufacturing following the customer requirement base on the QC Story approach which was applied to improve the bottle neck of the production line. Base on the time study result found that the milling step of the CNC process which is the bottleneck of production line so it was improved by the special module of the CAM software which is applied for improvement the cycle time of CNC process and increasing the production capacity by optimization the feeding, cutting and part of the cutting tools. The improvement result found that the cycle time of CNC process can be improved from 978 sec./pc to 688 sec./pc from Takt Time target 728 sec./pc and enhance the production capacity of the Machine Spare Parts Production Line from 67 pcs./day to 90 pcs./day from 89 pcs./day target or from 1,675 pcs./month to 2,350 pcs./month from 2,208 pcs./month target.

Keywords: Production Capacity, QC Story, Takt Time, CNC.


การเพิ่มความสามารถการผลิตในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร|Production Capacity Increment for the Machine Spare Parts Production Line

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 998
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code