ระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า ของบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด

Last modified: June 17, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า ของบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด
Customer Management System of Bara, Winser & Co., Ltd
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวจุฑามาศ ปวงสุข, นางสาวอรอุมา บุญสุข, นางสาวปรางทิพย์ จันทองม่วง, นางสาวมนัสนันท์ วัจนะรัตน์
Ms. Jutamas Puangsuk, Ms. Ornuma Boonsuk, Ms. Prangtip Janthongmuang, Ms. Manatsanan Watjanarat
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สุคนธสิงห์
Mr. Narongrit Sukonthasing
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
Bachelor of Business Administration
ภาควิชา:
Major:
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Computer Business
คณะ:
Faculty:
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2561
3/2018

การอ้างอิง/citation

จุฑามาศ ปวงสุข, อรอุมา บุญสุข, ปรางทิพย์ จันทองม่วง และ มนัสนันท์ วัจนะรัตน์. (2561). ระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า ของบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

บริษัท พาราวินเวอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า และให้บริการ อาทิ รถยนต์โตโยต้า ศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คณะผู้จัดทำพบถึงปัญหาขององค์กร เนื่องจากองค์กรมีการติดต่อกับลูกค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการติดต่อจากลูกค้า พนักงานไม่สามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นใคร ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลของลูกค้า เพื่อแสดงให้พนักงานทราบ และสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนของการพัฒนาระบบ โดยทำการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ อาทิ ชื่อ เบอร์โทร ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการซื้อและประวัติการโทรของบุคคลนั้น ณ เวลาปัจจุบัน คณะผู้จัดทำได้พัฒนาระบบดังกล่าวโดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2019 และ Visual Studio Code version 1.37.1 ทำให้พนักงานสามารถทราบข้อมูลของลูกค้า ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2) ส่วนของการทำให้ระบบมีความพร้อมใช้งานสูง หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการบนเครื่องแม่ข่ายและติดตั้งโปรแกรมระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าบนระบบดังกล่าว ระบบทำซ้ำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หากระบบหลักมีปัญหาเกิดขึ้น ระบบจะทำการสลับไปใช้อีกระบบโดยอัตโนมัติทันที ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดทำงานขึ้นได้

คำสำคัญ : พร้อมใช้งานสูง, พัฒนาระบบ, หยุดทำงาน


Abstract

Bara, Winser & Co. Ltd has business as product agents and services, such as Toyota cars, auto repair center, spare parts, industrial sewing machines and many other products. The researchers found the problem of the corporation because they must maintain contact with many customers. Staff does not know customer data immediately. So, the business must have customer data available to show staff to have convenient operation, and be more effective.

The objective of this project for the Customer Management System was divided into 2 parts: 1. Developer System – Developer Customer Management System data display information such as name, telephone number, personal data, purchase history, and call history for each person. Researchers used Microsoft Visual Studio 2019 and Visual Studio version 1.37.1 to develop the program that helped staff know the customer data so they could work fast and more effective; 2. High Availability Parts – After the Operating System was installed, researchers installed Mongo DB version 3.6.3, Redis version 4.0.9 and Node red version 8.10.0 on the server by using VMware vCenter version 6.7 to build the machine and installed Customer Management System on the system. This system could replicate data to date. If the main system has a problem, the backup system will automatically work instead and the system can work continuously without any downtime.

Keywords: High availability, Development System, Downtime.


ระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า ของบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด | Customer Management System of BARA, WINSER & CO., LTD

Faculty of Information Technology, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 653
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code