- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- การออกแบบและสร้างเครื่องจักรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การออกแบบและสร้างเครื่องจักรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Design and Build Machines Using by Computer Program |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายภาณุพงศ์ กันยารัตน์ Mr. Phanuphong Kanyarat |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิทักษ์พงษ์ บุญประสม Asst. Prof. Pitagpong Boonprasom |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2560 3/2017 |
การอ้างอิง/citation
ภาณุพงศ์ กันยารัตน์. (2560). การออกแบบและสร้างเครื่องจักรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานสหกิจศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้โปรแกรมเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์สามมิติแก้ไขขนาดมิติในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องรีดยางเครป ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรีดยางเครปของบริษัท เอฟ.เอ็ม.จี. อินดัสทรี จำกัด เนื่องจากในการผลิตชิ้นส่วนแบบเดิมยังคงใช้การร่างแบบและเขียนแบบด้วยดินสอบนกระดาษและยังขาดข้อกำหนดมาตรฐานในงานเขียนแบบสั่งงานที่มีความจำเป็นในงานผลิตชิ้นส่วนทั้งภายในโรงงานและการสั่งผลิตชิ้นส่วนโดยการจ้างผลิตจากภายนอก ในกรณีการสั่งตัดส่วนขาของเครื่องจักรจากแผ่นโลหะขนาดใหญ่ที่มีความหนา 80 มิลลิเมตร ส่วนขาของเครื่องจักรแยกเป็นสองชิ้นหลังจากการตัดเป็นชิ้นส่วนต้องนำมาเชื่อมประสานเข้าด้วยกัน ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างชิ้นงานนานขึ้น จึงได้แก้ไขแบบส่วนขาของเครื่องจักรใหม่ให้เป็นแบบชิ้นเดียว ช่วยลดระยะเวลาในการผลิตเครื่องจักร ส่งผลให้การประกอบเครื่องจักรเสร็จเร็วขึ้น ซึ่งจากเดิมใช้เวลาในการผลิตเครื่องรีดยางเครป 7 สัปดาห์ต่อเครื่อง ทำให้เหลือเวลาเพียง 5 สัปดาห์ต่อเครื่อง ข้อเสนอแนะ จะต้องทำการวัดขนาดและระยะจริงของเครื่องจักรก่อนที่จะทำการปรับปรุง เพื่อนำขนาดและระยะนั้นมาแก้ไขปรับปรุงใหม่ เพื่อให้เครื่องรีดยางเครปตรงตามแบบที่กำหนด
คำสำคัญ: โปรแกรมเขียนแบบคอมพิวเตอร์, เครื่องรีดยางเครป, บริษัท เอฟ.เอ็ม.จี. อินดัสทรี จำกัด
Abstract
This cooperative education report aimed to use a three-dimensional computer program, edit the dimensions of crepe rubber parts in the production of the rubber crepe machine, at F.M.G Industry Co., Ltd. The old system used drafting and drawing with pencil on paper and lacked the standard requirements for writing work orders that were necessary in the production of parts, both within the factory and the production of parts by outsourcing production. In the case of cutting the leg of the machine from a large sheet of metal with a thickness of 80 mm, the leg of the machine was separated into two pieces. After cutting into parts, it was welded together so it took a long time to build the work pieces. Therefore, the new machine modified the legs to reduce the time of production, resulting in faster assembly of machinery. Previously, the production of crepe rubber machine took 7 weeks per device, but now it is only 5 weeks per device. It is suggested to measure the actual size and range of the machine before updating requirements.
Keywords: Computer Program, Crepe Rubber Machine, F.M.G. Industry Co., Ltd.
การออกแบบและสร้างเครื่องจักรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | Design and Build Machines Using by Computer Program
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand