ออกแบบพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่วิทยาลัยชุมชน

Last modified: October 20, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ออกแบบพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่วิทยาลัยชุมชน
Design, Development, and Implementation of an Automized Information System for Community College Officers
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวกชนิภา การประเสริฐ
Miss Kotchanipha Karnprasoet
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
Prof. Dr. Wichian Premchaiswadi
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
Master of Science (Ms.IT)
สาขาวิชา:
Major:
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
IEEE ICT & Knowledge Engineering 2018 Conference, November 21-23, 2018, Siam University, Bangkok, Thailand

การอ้างอิง/citation

กชนิภา การประเสริฐ. (2563). ออกแบบพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่วิทยาลัยชุมชน. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Karnprasoet K. (2020). Design, development, and implementation of an automized information system for community college officers. (Master’s independent study). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

 สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงออกแบบและพัฒนาเกี่ยวกับระบบข้อมูลที่ใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารจัดการการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสรรหาครูผู้สอนให้เป็นไปตามเกณฑ์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีแนวคิดในการลดปริมาณการใช้กระดาษ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ระบบการดำเนินงานแบบเดิมเป็นการใช้กระดาษดำเนินงาน ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ให้สามารถทำงานต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ตามแนวทางการพัฒนาระบบแบบSDLC (System Development Life Cycle)

การพัฒนาระบบจากงานสารนิพนธ์ฉบับนี้ จะช่วยให้ขั้นตอนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานมากขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจสรรหาผู้สอนมีความเหมาะสม โดยอาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลประวัติการศึกษา  และประวัติการทำงานจากระบบออนไลน์ที่พัฒนาจากงานสารนิพนธ์นี้ประกอบข้อคิดเห็นจากผู้เรียนที่มีต่อผู้สอนหลังจากจบการเรียนการสอน  และนำไปทดสอบกับครูผู้สอน จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 6 คน พบว่า  พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.53)  โดยความพึงพอใจด้านรูปหน้าจอการใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.79) ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=4.45) และด้านความปลอดภัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=4.16)

คำสำคัญ: วิทยาลัยชุมชน, วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ, เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา


Abstract

This research emphasized the design and development of an information system for helping the associate education management officers of a public/governmental community college to increase efficiency of selecting/assigning teachers to courses by reducing the number of paper documents needed. The traditional systems of the college collected data manually through a paper-based approach. With the designed, developed and implemented information system in this study, the associate education management officers use an online and transparent process, to collect and access the required data from 3 main resources as follows: (1) based on the teachers’ pre-semester evaluation forms; (2) based on the teachers’ post-semester evaluation forms; and (3) based on the students’ evaluation forms previously filled and submitted to the system while assessing the relevant teachers. The new system offers a standard process for determining a teacher for a course, in a timely and effective manner, and was created so the officer could make better decisions about who might be the best choice teach a course relying on the semesterly historical data submitted by teachers and feedback received from the students perception regarding that teacher. In order to better implement the system, the SDLC (System Development Life Cycle) software engineering process was considered and implemented by using the Eclipse Typescript, Visual Studio Code, Language Typescript, Angular framework, and My SQL database. The system was tested in an authentic (real life) environment which included 10 teachers and 6 officers.

The results showed an overall (average) satisfaction level of  4.53 (out of 5), whereas the extent of the satisfaction level toward the interface design of the system was 4.79, the extent of the satisfaction level toward the data accuracy of the system was  4.45, and the extent of the satisfaction level toward the safety and security of the system was 4.16. This research provides a foundation for future experiments and studies.

Keywords: Community College, System Development Life Cycle (SDLC), Education Management officers.


   ออกแบบพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่วิทยาลัยชุมชน | Design, Development, and Implementation of an Automized Information System for Community College Officers

Master of Science in Information Technology, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 276
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code