ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Last modified: March 28, 2021
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Effectiveness in administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระประยุทธ ชุมโส
PhraPrayut Sumso
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.สุเมธ แสงนิ่มนวล
Dr.Sumet Sangnimnuan
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

พระประยุทธ ชุมโส. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนะให้แก่ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร นาไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไป

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนและผู้ปกครองในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 220 คน (ข้อมูลศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก พ.ศ. 2557) เนื่องจากประชากรในการวิจัยครั้งนี้มีจานวนไม่มากนัก ผู้วิจัย จึงทาการวิจัยประชากรทั้งหมด (Population Universe) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละโดยการทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยไคสแควร์และวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแกมมาที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ .05

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิชาการ รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารและคณะครู การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การรับรู้นโยบายการดาเนินการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ระยะเวลาที่เข้าศึกษาของนักเรียน

จากผลของการวิจัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอนไม่ควรมีรูปแบบที่สำเร็จรูป แต่ควรมีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและสถานการณ์ทางสังคมปัจจุบัน โดยยึดปัญหาและความต้องการของผู้เรียน และชุมชนเป็นสาคัญเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขบริบทของพื้นที่ และควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มผู้เรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และหน่วยงานสนับสนุนทั้ง ภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร ตลอดถึงกลุ่มผู้มีจิตศรัทธาต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น 2) ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดทำแผนงบประมาณประจาปี บันทึกรายรับ รายจ่ายสามารถตรวจสอบได้และเปิดเผยต่อชุมชน เพื่อให้การใช้งบประมาณแต่ละปีมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 3) ด้านบริหารงานบุคคล ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ควรวางแผนอบรมและพัฒนาบุคลากร ให้เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และความสามารถและเทคนิควิธีในการสอนโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ และควรประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นตัวสะท้อนให้ทราบถึงสมรรถนะของตนเอง และขององค์การ 4) ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การปรับปรุงศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวัน อาทิตย์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เช่น การจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ปลอดโปร่ง ใกล้ชิดธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนสภาพชั้นเรียนให้มีความหลากหลายไม่จำเจ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ อย่างกระตือรือร้นของเยาวชนและประชาชนผู้เรียน ให้ประชาชนรอบวัดมีส่วนร่วมในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของศาสนาและวัฒนธรรม ที่สำคัญส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาและบริหารจัดการ ศูนย์ฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะและการวิจัยครั้งต่อไปได้แก่ 1) ควรมีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบกับศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์ในวัดอื่นๆ และนาผลมาเปรียบเทียบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของแต่ละแห่ง เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีและเหมาะสม 2) ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยเน้นให้คณะผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน และ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนางานไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น 3) ควรมีการศึกษาด้านมาตรฐานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ด้านการเรียนรู้และด้านการบริหารจัดการศูนย์ฯ


Abstract

The objectives of this study were: 1) To examine the effective level in Administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok2) To examine the factors influence to the efficiency in in Administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok3) To propose recommendation to the management of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok for further benefits in administration.
The population in this study were students and parents in Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok for 220 persons (Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok B.E 2557). Since the number of population is small so the researcher examined the whole population (Population Universe). This study used a questionnaire as a research tool in collecting date, statistic used in quantitative data analysis were frequency percentage and the hypothesis were tested by Chi-square and measured the correlation between two factors with Gamma at significant level of .05
The findings were 1) the overall effective level in in Administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok in 4 dimensions was in medium level, Academic function was the highest average level, followed by budget function, personnel management function and facility and environment function respectively. 2) the overall average factors that influenced the efficiency in Administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok were in medium level were leadership of the management and teachers, participation in administration, policy acknowledgement at significant level of .05 . However, average family income and educational period of students had no correlation with the efficiency in administration.

From the research findings of factors related to the efficiency in Administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok, the researcher has the following recommendations 1) Academic function : there should be no fixed formal pattern, there should be multiple patterns depending on present social environments focused on students and communities’ requirements, so it complies to area context and should build a participation process in all levels of relevant parties including students, parents, teachers and supporting organizations both public private volunteer and donators 2) Budget function: there should be an annual budgeting plan, a record of revenue and expense which can be traced and public, so the annual budget implementations effective and meets the objectives of Sunday Dharma Study 3) Personnel management function: Sunday Dharma Study should plan for personnel training and development so the personnel are trained for both knowledge and skills in teaching for maximum benefits in students. Moreover, there should be an assessment of personnel to verify the competency of individual and organization. 4) Facility and environment function: The center should develop the place to be a complete learning center for example, set up a clean, calm and close to nature, modify the place to have multiple views to promote learning perspective actively. More importantly, the center should promote the participation process of community in developing and administrating the center broadly and periodically.

Recommendation for further research were 1) there should be a comparative study of other Sunday Dharma Study and compare strength, weakness, opportunity and threat of each center to have a better suitable administration pattern. 2) there should be an action research focusing the administration, teachers, students, and other relevant parties to study, research and develop the project together for better solid output. 3) there should be a study of the standard of Sunday Dharma Study in learning and administrating the center.

Keywords:  Buddhist study, Buddhist study center.


ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร / Effectiveness in administration of Sunday Dharma Study, WatNakprok, Pasicharoen District, Bangkok

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 422
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code