ย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ

Last modified: January 20, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ
Ethnic Bag from Karen Pakakenyau
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายพีรณัฐ ศรีแสง
Mr. Peeranat Srisaeng
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ภัทรภร จิรมหาโภคา
Miss Pattaraporn Jiramahapoka
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
1/2564
1/2021

การอ้างอิง|Citation

พีรณัฐ ศรีแสง. (2564). ย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Hiranyalekha P. (2021). Ethnic bag from Karen Pakakenyau. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

     ย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 2) เพื่อสามารถสร้างรายได้ให้กับพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม 3) เพื่อให้ได้ย่ามจากผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปกากะญอที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เนื่องด้วยผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทําให้แผนงานที่วางมาตลอดทั้งปี จะต้องยกเลิก เพราะไม่สามารถเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ และไม่สามารถออกไปหาชุมชนได้ จึงต้องหาวิธีปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในตอนนี้ จึงจำเป็นต้องหารายได้เพื่อนำไปพัฒนาพิพิธภัณฑ์ และกลุ่มชุมชนเล็กๆ จึงทําให้ผู้จัดทําได้เล็งเห็นโอกาสที่จะหารายได้ให้กับพิพิธภัณฑ์ได้ จากการนำสินค้าหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มาเสนอ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ดี ยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ ผลจากการศึกษาพบว่าการจัดทําย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ สามารถหารายได้ให้ทั้งพิพิธภัณฑ์ในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 และกลุ่มชาติพันธุ์ได้ และนำความสามารถของกลุ่มชาติพันธุ์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังได้ความรู้จากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศไทยว่ามีถิ่นฐานจากที่ไหนบ้างและมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดกี่กลุ่ม

คำสำคัญ: ย่าม, ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม, กระเหรี่ยง ปกากะญอ


Abstract

The cultural product of the Karen, Pakakenyau tribes report was created with the objective of:1) to generate income for ethnic groups during the COVID-19 outbreak; 2) to generate income for the museum. And 3) In order to get a bag from the cultural products of the Karen, Pakakenyau, that can be used in daily life. As a result, the plans throughout the year were canceled because the museum could not be openedfor visitors and a lockdown was in place so, we must find a way to adapt to the situation. It is necessary to earn money to develop the museum, thus, the organizing committee saw an opportunity to earn money for the museum from bringing ethnic handicrafts to promote the quality of life of ethnic groups. A cultural product a bag of the Karen, Pakakenyau, tribes has been prepared. The results of the study revealed that the production of cultural bags of the Karen, Pakakenyau, tribes can earn money for the whole museum and ethnic groups using talents of ethnic groups to use.

Keywords:  Ethnic Bag, Cultural Product, Karen Pakakenyau.


ย่ามผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงปกากะญอ| ETHNIC BAG FROM KAREN PAKAKENYAU

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 63
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code