ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร

Last modified: March 26, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร
Factors affecting job satisfaction of Officers of The Customs Department
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายไชยทัต นิวาศะบุตร
Mr. Chaiyatat Nivasabutr
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร. เมฆินทร์ เมธาวิกูล
Asst.Prof.Dr.Mekin Methawikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

ไชยทัต นิวาศะบุตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากรมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและยกระดับความพึงพอใจของข้าราชการกรมศุลกากรให้สูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือข้าราชการกรมศุลกากร จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) ซึ่งใช้ความรู้ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเป็นแนวทางในการสร้างคำถาม ในแบบสอบถามซึ่งขอ้ มูลที่ได้จะนาํ มาวิเคราะห์และสรุปผลตามประเด็นคำถามในการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าข้าราชการกรมศุลกากรมีความเห็นในภาพรวมของปัจจัยทุกด้านอยู่ในระดับมาก หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.06 และเมื่อพิจารณาปัจจัย เป็นรายด้าน ก็พบว่าอยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยปัจจัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.33) รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์อันดีกับ เพื่อนร่วมงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.30) และด้านคุณลักษณะของงานที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.20)

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ คือ
1) ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงานเอ็กซเรย์ กรมศุลกากรควรจัดให้มีการฝึกอบรมและทบทวนความรู้ในการทำงานที่เสี่ยงภัยอย่างสม่ำเสมอและจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันภัยอันตรายในการทำงานให้แก่ข้าราชการกรมศุลกากรอย่างทั่วถึง
2) ด้านความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานกรมศุลกากรควรส่งเสริมให้มีชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมนอกเวลาทำงานที่หลากหลายและต่อเนื่อง เช่น ชมดนตรี ชมรมภาษาอังกฤษ ชมรมภาษาจีน ชมรมกีฬาประเภทต่างๆ และกลุ่มจิตอาสาทำประโยชน์ให้แก่สังคม เป็นต้น
3)ด้านคุณลักษณะของงานที่ปฏิบัติงานอยู่มีความสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานพิจารณาหมุนเวียนข้าราชการกรมศุลกากรแต่ละคนให้มีโอกาสได้ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่ หรือสถานที่ใหม่ ทุกช่วงระยะเวลาไม่เกิน4ปี
4) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชากรมศุลกากรควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะให้แก่ผู้บังคับบัญชาอย่างเสรี ผ่านกิจกรรมและช่องทางต่างๆ เช่น การจัดสัมมนาหลักสูตรนายด่านศุลกากร การสัมมนาผู้บริหารระดับกลาง และ การสอบถามความคิดเห็นข้าราชการกรมศุลกากรผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในระบบ Intranet ของกรมศุลกากร เป็นต้น
5) ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับภารกิจงานกรมศุลกากร ควรเสนอกระทรวงการคลังอนุมัติให้กรมศุลกากรจัดสรรเงินค่าทำการล่วงเวลา และค่าธรรมเนียม ตามอัตราส่วนตำแหน่งงาน ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดโดยไม่ต้องนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งผลักส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เพราะค่าตอบแทนในเรื่องดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนที่จัดเก็บจากผู้มาใช้บริการ มิใช่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรเงินรางวัลนำจับ ให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่มีความเสี่ยงภัยของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลนำจับอย่างเป็นชัดเจนและเป็นธรรม เป็นต้น รวมทั้งเสนอให้สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้พิจารณาอนุมัติตำแหน่งงานใหม่รวมทั้งค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และมีอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพ เช่น ตำแหน่งงานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการควบคุมระบบตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาวิจัยในด้านอื่น ๆ ของหน่วยงาน เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ และศึกษาเปรียบเทียบกับองค์การอื่นๆที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน และ ควรมีการศึกษาวิจัยในประเด็นความพึงพอใจในงานโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน


Abstract

The research title Factors Affecting Job Satisfaction of Officers of The Customs Department aimed to explore factors that influence job satisfaction of government employees under the Customs Department and to provide suggestions to improve and raise the satisfaction. The sample was 400 government officers of the Customs Department. A questionnaire developed from literature review was used and collected data was then analyzed to find out conclusion in accordance with research questions.

Findings revealed that the Customs Department’s government officials had an overall opinion of every aspect at a high level, which was measured as an average of 4.06. When considered each dimension, they also had an opinion at a high level.The factor with a highest average was job security (mean= 4.33), followed by interpersonal relations with colleagues (mean= 4.30) and consistency between job characteristics and expectation of performing officers (mean= 4.20).

Suggestions of this study were as follows.
1) In terms of job security, the Customs Department should provide trainings and rehearsal about working with risky jobs constantly, and also the Department should procure equipment or devices that help prevent hazards at work to the Customs Department’s servants.
2) Regarding to interpersonal relations with colleagues, the Department should promote a variety of clubs or activities outside of work hours, such as music club, English club, Chinese club,Sports clubs and volunteer groups.3) For consistency between job characteristics and expectation of performing officers, the Department should rotate the Customs Department’ servants to work in the new position or the new location every 4 years or less.
4) As per interpersonal relations with supervisors,the Customs Department should offer an opportunity to the government officials in order for them to give opinions or suggestions to their supervisors freely through various activities and channels; for instance, a seminar for chief customs officer, middle management seminar program and opinion surveys of the Department’s servantsvia online questionnaires.
5) For appropriateness of compensation to the mission, the Customs Departmentshould propose the Ministry of Finance to allow the Department to allocate overtime paysand fees by job positionsto all performing officers without handing a part of income as the public revenue, because those kinds of compensation are collected from customers not the government budget. Also, the Departmentshould propose the Ministry to consider criteria for reward allocation which matches to risky tasks.

To illustrate, setting clear and fair prize eligibility criteria. In addition, the Customs Department should propose Office of the Civil Service Commission (OCSC) to consider approving the new job positions as well as increase in compensation for those working with machines or devices which require expertise and is harmful to life or health like the job position that requires skills and expertise for operating the X-ray container inspection system.

For the future researches, they should consider another dimension of the Department, such asfactors influencing employee engagement, as well as compare to another organization having the similar missions. Last but not least, job satisfaction based on qualitative research with the aim of deeply studying characteristics of each factor that affects to job satisfaction should be taken into account.

Keywords:  Job satisfaction, Officers of the customs.


ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการกรมศุลกากร / Factors affecting job satisfaction of Officers of The Customs Department

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 898
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code