ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรวัยแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Last modified: January 11, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรวัยแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Title: Factors Influencing to Preventive Behaviors for Coronavirus Disease 2019 of Thai and Migrant Workers in Bang Sao Thong District, Samutprakarn Province.
ผู้วิจัย:
Researcher:
อาจารย์ขวัญเรือน ก๋าวิตู – Miss Kwanruen Kawitu, อาจารย์ชัยสิทธิ์ ทันศึก และอาจารย์ณรงค์ สุกใส
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สาขาที่สอน:
Major:
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 24 ฉบับที่ 47 กรกฎาคม-ธันวาคม 2566 – Journal of Nursing Siam University Management Vol. 24 No. 47 July-December 2023
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/issue/view/17763/5123

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประชากรวัยแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ตัวอย่าง คือ วัยแรงงานไทยและแรงงานเมียนมาร์ จำนวน 420 คน แบ่งเป็นแรงงานไทยและแรงงานเมียนมาร์ จำนวนอย่างละ 210 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified rand๐m sampling) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน สิงหาคม 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2)แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ 3) แบบสอบถามด้านแรงสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามด้านทัศนคติเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 5) แบบสอบถามด้านการรับรู้ และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 และหาคาความเที่ยงของเครื่องมือโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ เอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ .81 และ .77 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 อยู่ในระดับมาก (Mean = 2.18, SD =.50) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Beta=.134, p=.004) ทัศนคติเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Beta=.234, p<.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta=.226, p<.001) ปัจจัยด้านการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้อุปสรรค (Beta= -.081, p=.037) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค (Beta=.244, p<.001) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 53 (R2 = .533, p < .001)

Keywords: ปัจจัยที่มีอิทธิพล พฤติกรรมการป้องกันตนเอง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรวัยแรงงาน


Abstract

This research aimed to examine the preventive behavior for coronavirus disease 2019 and factors affecting the preventive behaviors for coronavirus disease 2019 of Thai and migrant workers in Bang Sao Thong District, Samutprakarn Province. The sample were 420 people including 210 Thai worker and 210 migrant worker who work in Bang Sao Thong district, Samutprakarn province. Samples were selected by stratified random sampling technique. The data were collected during August 2022. The research instruments were questionnaires to assess demographic characteristics, health literacy, social support, attitude, towards coronavirus disease 2019, perception towards benefits and barriers of prevention behaviors and the prevention behaviors of coronavirus disease 2019. All research instruments were validated in terms of content validity by three experts in the field. The Content validity index (CVI) was .96. The Cronbach’s alpha coefficient reliability of the questionnaire was tested yielding values of .81 and .77 respectively. The quantitative data were analyzed using multiple regression.

The results found that the worker had a high level of the prevention behavior of coronavirus disease 2019 (Mean = 2.18, SD = .50). Multiple regression analysis revealed that the following factors were statistically significantly (p-value < 0.05) affected the preventive behaviors of Coronavirus disease 2019; health literacy (Beta=.134, p=.004), attitude (Beta=.234, p<.001), social support (Beta=.226, p<.001), perception in the barriers related to the coronavirus disease 2019 (Beta= -.081, p=.037) and perception in the benefit related to coronavirus disease 2019 (Beta=.244, p<.001) were able to predict the prevention behavior of coronavirus disease 2019 at 53 percentages (R2 = .533, p < .001)
The study results can be used as a guideline for defining plans and activity models in accordance with society such as activities to make people more knowledgeable, cope with emerging incidents in the future, and prepare workers to be ready for new ways of life.

Keywords: influencing factors, Preventive Behaviors, Coronavirus Disease 2019, Workers.

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 61
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code