ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจัดการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในชุมชนริมคลองภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Last modified: January 11, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจัดการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในชุมชนริมคลองภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Title: Factors Predicting the Participatory Health Management in Klong Phasi Charoen Waterfront Community
ผู้วิจัย (Researcher): รัฐกานต์ ขำเขียว, ศนิกานต์ ศรีมณี และศิรินา สันทัดงาน – Ruttakarn Kamkhiew, Sanikan Seemanee and Sirina Suntudhan
หลักสูตรที่สอน (Degree): พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สาขาที่สอน (Major): พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สังกัดคณะวิชา(Faculty of study): พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
ปีการศึกษา (Academic year): 2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่/(Published): วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2566 – Journal of Health and Health Management Vol. 9 No. 2 July-December 2023
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/263102/180525 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ บรรยาย (Exploratory Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชนริมคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนริมคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร คำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power version 3.1.9.7 สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s correlation ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 138 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามด้านปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ เอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ .91 และ .869 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน ชุมชนริมคลอง เขตภาษีเจริญ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.06, SD = .571) 2) ปัจจัยปัจจัยนำปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .409, .557, และ .545 ตามลำดับ) 3) ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม สามารถร่วมกันทำนายการจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนริมคลอง เขตภาษีเจริญได้ ร้อยละ 36.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: การจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วม, ชุมชนริมคลองภาษีเจริญ


Abstract

This descriptive research aimed to study the participatory health management of people living in Klong Phasi Charoen Waterfront community and examine the relationship between predisposing, enabling and reinforcing factors and participatory health management. Sample size was 138, calculated using G*Power version 3.1.9.7. Research instrument was a questionnaire including 5 parts: demographic data, predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and participatory health management behaviors, which all were validated and approved by professional experts and The Cronbach’s alpha coefficient reliability of the questionnaire was tested yielding values of .91 and .954 respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, Pearson product moment correlation, and multiple regression analysis. The research findings were as follows. 1) The majority of people living in Phasi Charoen waterfront community had participatory health managements at a moderate level ( = 3.06, SD = .571). 2) The predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors correlated with participatory health managements, were significantly positive (r = .409, p< .01, r = .577, p< .01, and r = .545, p< .01, respectively). 3) The enabling factors, and reinforcing factors together with these two variables, accounted for 36.4% of the variance in participatory health managements of living by the Phasi Charoen Canal (significance at the 1% level).

Keywords: Participatory Health Managements, Community.

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 79
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code