ตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Last modified: June 20, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: ตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Research Article: Indicators of the Success of Using the Food Ordering Applications during the COVID-19 Pandemic
ผู้เขียน/Author: ดร.รุ่งโรจน์ สงสระบุญ | Dr. Rungroje Songsraboon
Email: rrs101@hotmail.com
สาขาวิชา/คณะ: ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Business Administration in General Management, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร MUT Journal of Busines Administration ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563 หน้า 114-129 Volume 17 Number 2 (July-December 2020)

การอ้างอิง/citation

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2562). ตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 114-129.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 (2) ศึกษาระดับการตัดสินใจของการใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 (3) พัฒนารูปแบบตัวชี้วัดความส าเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 เก็บ 400 คน เครื่องมือการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) และจากการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ใช้บริการได้ทุกสถานที่/ทุกเวลาใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร จ านวน 10 – 15 ครั้ง/เดือน ใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารวันจันทร์ และนิยมใช้บริการช่วงเวลา 11.00 – 13.00 น. (2) ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 มากที่สุด ได้แก่ การโฆษณาบนสื่อดิจิทัล (3) รูปแบบตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 มีความเหมาะสมเนื่องจากมีการสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

คำสำคัญ: ตัวชี้วัดความสำเร็จ, แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร, ไวรัส COVID-19


ABSTRACT

This study aimed to (1) study characteristics of users using food ordering applications during the COVID-19 pandemic (2) study level of decision making in using the food ordering application during the COVID-19 pandemic and (3) develop a model of success indicators of the use of food ordering applications during the COVID-19 pandemic. The Sample was 400 users who used food ordering application during the of COVID-19 pandemic. The questionnaires were used to collect data. The statistics for data analysis were descriptive statistics and hypothesis testing: the Structural equation modelling (SEM). The findings revealed that (1) most users were female, got a Bachelor’s degree, worked for a private company/enterprise, earned 20,001 – 30,000 Baht, used the application anywhere and anytime, used the application10 – 15 times per month, often used it on Monday during 11.00 – 13.00, (2) the most successful indicator was the digital advertising, and (3) the model of success indicators of the use of food ordering applications during the COVID-19 pandemic was appropriate because it is consistent with the empirical data.

Keywords: Successful indicator, Food ordering application, COVID-19.


ตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | Indicators of the Success of Using the Food Ordering Applications during the COVID-19 Pandemic

Graduate Schools, Siam University, Bangkok, Thailand

 

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 789
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print