การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง

Last modified: August 18, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง
Research Article: Line Balancing for Reducing Waste of Producing: A Case Study frozen salmon Process
ผู้เขียน/Author: ธัชณนท์ แดนเขต, ธนภัทร แซ่ลี้ และชาณิดา พิทยานนท์| Thachanon Dankhate, Thanapat Sae-Lee
and Chanida Pattayanon
Email:
สาขาวิชา/คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Engineering in Industrial Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2561 วันที่ 23-26 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | Industrial Engineering Network Conference 2018 (IE Network 2018), Ubonratchathani July 23th – 26th 2018

การอ้างอิง/citation

ธัชณนท์ แดนเขต, ธนภัทร แซ่ลี้ และชาณิดา พิทยานนท์. (2561). การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


บทคัดย่อ

     ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ควรได้รับการปรับปรุงพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยสามารถผลิตสินค้าอาหารในระดับที่แข่งขันได้ในอุตสาหกรรมระดับโลก งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนสินค้าที่ผลิตไม่ทันตามเวลาความต้องการของลูกค้า (Takt Time) ลดปัญหาคอขวด และลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นกระบวนการผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง โดยใช้หลักการศึกษาการทำงานและหลักการจัดสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) การวิจัยเริ่มจากการทำการศึกษากระบวนการผลิตลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลกระบวนการผลิต TRK184 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีในการลด เวลาในการทำงาน (Cycle Time) ให้พอดีหรือต่ำกว่าเวลาความต้องการของลูกค้า ใช้หลักการ ECRS ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและวิเคราะห์การจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมให้กับแต่ละกระบวนการทำงาน จากนั้นทำการจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต หลังการประยุกต์แนวทางปรับปรุงและเก็บข้อมูลผลการดำเนินงาน  พบว่าสามารถลดขั้นตอนในการผลิตจาก 31 ขั้นตอนเหลือ 30 ขั้นตอน ลดเวลารอบการผลิตลงได้คิดเป็นร้อยละ 3.23 ของเวลาเดิม สามารถลดระยะทางโดยรวมของกระบวนผลิตได้ 7.66 เมตร คิดเป็นร้อยละ 14.74 ของระยะทางเดิม และจากการจัดสมดุลสายการผลิตทำให้สามารถลดเวลาในการผลิตต่อรอบลดลง 0.55 นาที ส่งผลให้กำลังการผลิต (Capacity) เพิ่มขึ้นมาเป็น 359.34 กิโลกรัมต่อรอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.63 ของกำลังการผลิตเดิม ดังนั้นโดยสรุปแล้วงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระบวนการผลิตทั้งสิ้น 45,906,117 บาทต่อปี

คำสำคัญ: การจัดสมดุลสายการผลิต, หลักการ ECRS, กระบวนการผลิตปลาแช่แข็ง, ปัญหาคอขวด


ABSTRACT

The current industry issues are a major problem and must be accelerated to improve and develop according to changing conditions of the world economy. To be able to produce a performance to meet human needs. This cooperative project focuses on the problems of the industry that occurred. The objective was to study the issue Simplify. And reduce waste from the production of salmon. With a focus on reducing waste arising from the use of space was much needed. And reduce bottlenecks in the production process. By balancing the production line (Line balancing) start of the study process. Into the data collection process TRK 184 The data were analyzed to find ways to reduce or lower fit Cycle time analysis Takt time and space allocated to the individual processes. The instruments used for the implementation of this cooperative project. ECRS consists of guidelines to improve the production process. Balancing the production line To achieve the implementation of a better job. Operating results found Can reduce steps in the manufacturing process, the remaining 3 0 per cent 3 .2 3 . To reduce bottlenecks in the process of inspect fish by hand 1 percent 9 .9 7 and the kirimi cutting process percent 6.22. Can reduce the total distance of the route is 7.66 meters, representing 14.74. The production time per cycle decreased by 0.55 minutes per cent 7.94. The production capacity increased to 3 5 9 .3 4 kilograms per cent to 8 .6 3 and can enhance the value of production per day, amounting to 125,770.18 baht or 8.63 per cent. So in summary, this project can be applied in the manufacturing process. Can enhance the value of production per day, amounting to 45,906,117 baht per year.

Keywords:  Line balancing, principles ECRS, production, Bottlenecks.


การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง|Line Balancing for Reducing Waste of Producing: A Case Study frozen salmon Process

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 1
Views: 1602
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code