- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- การปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนงานปั๊มขึ้นรูปด้วยเทคนิคความสูญเปล่า 7 ประการ
ชื่อบทความ: | การปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนงานปั๊มขึ้นรูปด้วยเทคนิคความสูญเปล่า 7 ประการ |
Research Article: | Process Improvement of Pressing Process by Using 7 Wastes |
ผู้เขียน|Author: | ธนารักษ์ หีบแก้ว | Thanarak Heebgaew |
Email: | thanarak.heeb@siam.edu |
สาขาวิชา|คณะ: | ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2560 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 12-15 กรกฎาคม 2560 เชียงใหม่ | IE Network Conference 2017: Industry 4.0 Challenges for Thailand July 12-15, 2017 |
การอ้างอิง/Citation
ธนารักษ์ หีบแก้ว. (2560). การปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนงานปั๊มขึ้นรูปด้วยเทคนิคความสูญเปล่า 7 ประการ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2560 (หน้า 953-958). เชียงใหม่: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Heebgaew T. (2017). Process improvement of pressing process by using 7 wastes. In IE Network Conference 2017: Industry 4.0 Challenges for Thailand (pp. 953-958). Chiang Mai: Faculty of Engineering, Chiang Mai University.
บทคัดย่อ
ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนงานปั๊มขึ้นรูปของโรงงานกรณีศึกษานั้นพบว่าผลผลิตที่ได้นั้นต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 150 ชิ้น/คน/วัน จากการวิเคราะห์การทำงานด้วยแผนภูมิกระบวนการไหลนั้นพบว่ามี cycle time โดยเฉลี่ยคือ 208 วินาที และได้ผลผลิตโดยเฉลี่ยเพียง 121 ชิ้น/คน/วัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายมากถึงที่ 29 ชิ้น/คน/วัน หรือร้อยละ19.33 ของเป้าหมายการผลิตต่อวัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวให้มีผลผลิตมากขึ้นด้วยเทคนิคความสูญเปล่า 7 ประการ ซึ่งทีมงานได้ศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปรับปรุง 3 แนวทางต่อไปนี้คือ 1.) การปรับปรุงผังโรงงาน 2.) การตัดขั้นตอนการแช่น้ำมัน และ 3.) การปรับปรุงกระบวนการตัดชิ้นงาน ซึ่งสามารถลดเวลาการสูญเสียได้มากถึง 147.5 วินาที/cycle และผลจากการปรับปรุงดังกล่าวพบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตชิ้นส่วนโดยเฉลี่ยเป็น 256 ชิ้น/คน/วัน เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยเฉลี่ยมากถึง 144 ชิ้น/คน/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 118.42 และยังพบว่าต้นทุนค่าแรงงานต่อชิ้นลดลงจากเดิมกล่าวคือก่อนการปรับปรุงต้นทุนค่าแรงเฉลี่ยชิ้นละ 2.479 บาท หลังการปรับปรุงลดลงเหลือเฉลี่ยชิ้นละ 1.132 บาท หรือร้อยละ 54.34
คำสำคัญ: การปรับปรุงกระบวนการผลิต, การลดต้นทุนการผลิต, ความสูญเปล่า 7 ประการ
ABSTRACT
In pressing process of a case study at the current situation produced the products, so they were lower than the target as 150 pcs/man/day. It was analyzed by using the flow process chart, and cycle time was 208 sec. They got products by average only 121 pcs/man/day, so they were lower than the target 29 pcs/man/day or 19.33 percent of daily target. So, this research has the objective to apply industrial engineering knowledge for improved process to get more products out by using 7 wastes. The working team studied and found the improvement 3 solutions as 1.) Improved layout 2.) Reduced lubricant for dipping process and 3.) Improved cutting process. So, they improved waste time 147.5 sec/cycle. The result after improved process, so they got products out by average 256 pcs/man/day. Products out increased by average 144 pcs/man/day or 118.42 percent. Moreover, the result of labor cost per piece was reduced from 2.479 baht to be 1.132 baht by average or 54.34 percent
Keywords: Process improvement, Process cost reduction, 7 Wastes
การปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนงานปั๊มขึ้นรูปด้วยเทคนิคความสูญเปล่า 7 ประการ|Process Improvement of Pressing Process by Using 7 Wastes
Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand