- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาโท|Masters Degree
- M.Eng
- การเพิ่มผลิตภาพในโรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋อง
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
การเพิ่มผลิตภาพในโรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋อง Productivity Improvement in a Tuna Factory |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวมีนา ล่อซุ่นนี้ Miss Meena Lorsunnee |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ริจิรวนิช, ผู้ช่วยสตราจารย์ ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี Assoc. Prof. Dr. Vanchai Rijiravanich, Asst. Prof. Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering in Engineering Management |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการงานวิศวกรรม Engineering Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2561 2018 |
การอ้างอิง|Citation
มีนา ล่อซุ่นนี้. (2561). การเพิ่มผลิตภาพในโรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋อง. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Lorsunnee M. (2018). Productivity improvement in a tuna factory. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพในโรงงานแปรรูปปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากโรงงานกรณีศึกษามีความต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจาก 160 เป็น 180 ตันวัตถุดิบต่อวัน แต่พบปัญหาคือ ตู้นึ่งปลามีจำนวนจำกัด ไม่สามารถขยายเพิ่มได้เพราะพื้นที่มีจำกัด ทั้งนี้ยังพบว่ามีข้อกำหนดในเรื่องเวลาและจำนวนปลาในการนึ่งแต่ละรอบด้วย
หลังจากวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้หลักการวิเคราะห์แบบ Why-Why Analysis และการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งได้กำหนดวิธีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ คือ (1) ตัดหัวปลาออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใส่ปลาต่อรอบให้มากขึ้น (2) เปลี่ยนรูปแบบการวางตัวปลาลงบนตะแกรง และ (3) จัดการสายการผลิตในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงให้ได้กำลังการผลิตตามเป้าหมายที่กำหนด
ผลการศึกษาพบว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถเพิ่มกำลังการผลิตจาก 160 เป็น 180 ตันวัตถุดิบต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 12.5 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงจาก 62.18 เหลือ 61.40 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.25 และผลผลิตต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 145 เป็น 163 กิโลกรัม/คน/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 4 ล้านบาทต่อวัน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มผลิตภาพของโรงงานโดยรวมได้ตามวัตถุประสงค์
คำสำคัญ: ผลิตภาพ, การปรับปรุง, กำลังการผลิต
Abstract
The aim of this research was to increase yield in a canned tuna processing factory. The executives of the factory needed to increase the production capacity from 160 to 180 tons of raw material per day. The problem was that the fish tanks had limited space, and they could not add more fish because of time and the size of the fish to be placed inside the steamers.
After analyzing the cause by using the principle of Why-Why Analysis and increasing the productivity, the improvement methods to increase the production capacity were (1) cut off the fish heads to increase the area for adding more fish per round, (2) change the form of placing the fish inside the steamers and (3) manage the production line in the relevant section to improve the production capacity according to the target.
The study results indicated that the proposed method could increase the production capacity from 160 to 180 tons of raw material per day, which accounted for a 12.5 percent increase. Also, the production cost was decreased from 62.18 to 61.40 baht per kilogram or an increase of 1.25 percent. Productivity per person also increased from 145 to 163 kg/person/day or 12.4 percent more. The income from the output had also increased by approximately 4 million baht per day. Thus, the total factory productivity has improved and finally, met the needs of the executives.
Keywords: Productivity, Improvement, Capacity.
การเพิ่มผลิตภาพในโรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋อง|Productivity Improvement in a Tuna Factory
Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand