การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Last modified: March 3, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Research Article: The Development of Academic Work Storage System: A Case Study of Computer Science Program, the Faculty of Science, Siam University
ผู้เขียน/Author: ธนาภรณ์ รอดชีวิต, โชติกานต์ โคตรสุวรรณ์ และ ปริวรรต องค์ศุลี | Thanaporn Rocheewit, Chotikan Cortsuwan and Pariwat Ongsulee
Email: thanaporn.rod@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Science in Computer Science,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2563 (The 5th KRU National Academic Conference) วันที่ 25 กันยายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

การอ้างอิง/citation

ธนาภรณ์ รอดชีวิต, โชติกานต์ โคตรสุวรรณ์ และ ปริวรรต องค์ศุลี. (2563). การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (หน้า 463-477). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบระบบจัดเก็บข้อมูลผลงานวิชาการ: กรณีศึกษา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยระบบงานที่พัฒนาขึ้นจะแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ดูแลระบบ มีฟังก์ชันในการจัดการข้อมูลหลักของระบบ เช่นการจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน ดูรายงานจำนวนบทความที่มีอยู่ในระบบ อัปโหลดไฟล์ผลงานได้ 2) อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มีฟังก์ชันในการลงทะเบียน และเข้าสู่ระบบ อัปโหลดเอกสารผลงาน ค้นหาข้อมูลผลงาน และสามารถดาวน์โหลดไฟล์ผลงานได้ 3) ผู้ใช้ทั่วไป สามารถค้นหาข้อมูลผลงานทางวิชาการ และดาวน์โหลดเอกสารสกุลไฟล์ .pdf ได้ โดยระบบพัฒนาเป็นรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) ด้วยภาษา PHP, HTML, CSS และ JavaScript ระบบจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม Microspft SQL Server 2015 บริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL มีการออกแบบหน้าเว็บไซต์ โดยใช้ Front end Framework (Bootstrap) โดยออกแบบเว็บไซต์ให้เป็น Responsive Web Design ซึ่งสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้ทั่วไปนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 32 คน ผู้ใช้ที่มีผลงาน นักศึกษาที่ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 58 คน อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 1 คน สังกัดสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบระบบจัดเก็บข้อมูลผลงานวิชาการ กรณีศึกษา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สามารถอัปโหลดไฟล์ผลงานและจัดเก็บผลงานวิชาการ สามารถค้นหาผลงานที่ต้องการเลือกดูได้ สามารถแสดงจำนวนผลงานวิชาการในแต่ละประเภทได้ 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานของผู้ใช้งานที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบระบบจัดเก็บข้อมูลผลงานวิชาการ: กรณีศึกษา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.23 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.69

คำสำคัญ: ผลงานวิชาการ, เว็บแอปพลิเคชัน, วิทยาการคอมพิวเตอร์


ABSTRACT

The objectives of this research were 1) to develop the academic work storage system for Computer Science Program, the Faculty of Science, Siam University, and 2) to study users’ satisfaction with the efficiency of the academic work storage system: case study of Computer Science Program, the Faculty of Science, Siam University. The developed system contained three main functions, namely: 1) An administrator with a function to manage the main information of the system. Such as manage user data, view reports on the number of articles available in the system and upload files. 2) Teachers, students and staff there are functions to register, login, upload, search and download files. 3) Guest users can search and can download documents in portable document format (PDF). The system is developed as a web application with PHP, HTML, CSS and JavaScript. Database Management System with Microsoft SQL Server 2015 and manage data in SQL. The website is design using the Front end Framework (Bootstrap) is a Responsive Web Design that can be used on computers, smartphones and tablets. Sample consisted of 32 first-year and second-year students, users with academic works, which were 58 third-year and firth-year students, 5 instructors and staff, and 1 system administrator in the total of 96 persons. The research instrument was a satisfaction questionnaire on system efficiency. Data were then analyzed using statistics, including mean and standard deviation.

The research results indicated that 1) the developed academic work storage system for Computer Science Program, the Faculty of Science, Siam University could be used to upload and keep academic work files that enables users’ to retrieve information and view number of academic works in each category, and 2) users’ satisfaction with the academic work storage system for Computer Science Program, the Faculty of Science, was at a high level ( = 4.23, S.D. = 0.69).

Keywords: Academic Work, Web Application, Computer Science.


การพัฒนาระบบจัดเก็บผลงานวิชาการ: กรณีศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | The Development of Academic Work Storage System: A Case Study of Computer Science Program, the Faculty of Science, Siam University

Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 732
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print