- KB Home
- กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science Group
- การตรวจหาจุลชีพและความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะและการตรวจหาสเตียรอยด์ รวมทั้งโลหะหนักในยาสมุนไพร
ชื่อบทความ: | การตรวจหาจุลชีพและความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะและการตรวจหาสเตียรอยด์ รวมทั้งโลหะหนักในยาสมุนไพร |
Research Article: | Determination of microbes, antimicrobial susceptibility of bacteria, including steroid and heavy metals in medicinal herb |
ผู้เขียน/Author: | ศ.ดร.ภญ. สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง, รศ.ดร.นพ. ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์ และนางหัทยา ธัญจรูญ| Somporn Srifuengfung, Chanwit Tribuddharat, Huttaya Thuncharoon |
Email: | somporn.sri@mahidol.ac.th |
สาขาวิชา/คณะ: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจหาจุลชีพและความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะและการตรวจหาสเตียรอยด์ รวมทั้งโลหะหนักในยาสมุนไพร | Determination of microbes, antimicrobial susceptibility of bacteria, including steroid and heavy metals in medicinal herb (ทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) |
การอ้างอิง|Citation
สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง, ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์ และหัทยา ธัญจรูญ. (2565). การตรวจหาจุลชีพและความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะและการตรวจหาสเตียรอยด์ รวมทั้งโลหะหนักในยาสมุนไพร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Srifuengfung S., Tribuddharat C., & Thuncharoon H. (2022). Determination of microbes, antimicrobial susceptibility of bacteria, including steroid and heavy metals in medicinal herb (Research Report). Bangkok: Faculty of Pharmacy, Siam University.
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ทาการเก็บตัวอย่างตรวจยาสมุนไพรจำนวน 60 ตัวอย่าง จาก กรุงเทพมหานคร (n = 39; 65%), นนทบุรี (n = 3; 5%), นครปฐม (n = 2; 3.33%), อยุธยา (n = 9; 5%) และ ประจวบคีรีขันธ์ (n = 7; 11.67%) สำหรับ Total bacterial count มีค่าระหว่าง 0-12,000,000 colony formimg unit/gram และ Total fungal count มีค่าระหว่าง 0-20 colony formimg unit/gram ตรวจไม่พบเชื้อ Staphylococcus aureus และ Salmonella ในยาสมุนไพรทุกชนิด แต่ตรวจพบเชื้อ Escherichia coli ในยาสมุนไพร 8 ชนิด นอกจากนี้ตรวจพบเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ในยาสมุนไพร 2 ชนิด และตรวจพบเชื้อ Clostridium species ในยาสมุนไพร 11 ชนิด
สำหรับการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพพบว่าเชื้อ E. coli ที่พบนั้นมีทั้งสายพันธุ์ที่ดื้อยาชนิดเดียวและดื้อยาหลายชนิด ทำการตรวจหายีนดื้อยา คือ blaCTX-M gene, blaTEM gene และ blaSHV gene โดยวิธี polymerase chain reaction สามารถตรวจพบ 2 ยีนคือ blaCTX-M gene และ blaTEM gene
ผลการตรวจหายาสเตียรอยด์พบ 1 ใน 60 ตัวอย่าง (1.67 %) เป็นยาเดกซาเมทาโซนไม่ใช่ เพรดนิโซโลน ส่วนผลการตรวจหาโลหะหนักคือ ตะกั่วและแคดเมี่ยม นั้นมีค่า range และ mean ± SD = 0.003-0.617, 0.1432 ± 0.1639 (mg/kg) และ 0.003-0.264, 0.0256 ± 0.0494 (mg/kg) ตามลำดับ
คำสำคัญ: จุลชีพ, สเตียรอยด์, โลหะหนัก, ยาสมุนไพร
ABSTRACT
A total of 60 Thai medicinal herbs were collected from Bangkok (n = 39; 65%), Nonthaburi (n = 3; 5%), Nakhon Pathom (n = 2; 3.33%), Ayutthaya (n = 9; 5%) และ Prachuap Khiri Khan (n = 7; 11.67%). Total bacterial count was ranged 0-12,000,000 colony formimg unit/gram %). Total fungal count was ranged 0-12,000,000 colony formimg unit/gram. Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa and Clostridium species were detected in 8, 2 and 11 herbs. However, Staphylococcus aureus and Salmonella were not detected. E. coli isolates showed susceptible or multiple resistant to antibiotics. It was found by polymerase chain reaction that E. coli isolates contained CTX-M and TEM types of beta-lactamase enzymes. For steroid study, dexamethasone was detected in 1.67% of herbs but prednisolone was not found. For heavy metals, lead and cadmium were detected in range and mean ± SD as 0.003-0.617, 0.1432 ± 0.1639 (mg/kg) and 0.003-0.264, 0.0256 ± 0.0494 (mg/kg), respectively.
Keywords: microbes, steroid, heavy metals, medicinal herb.
รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:
- การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน
- ประสิทธิผลของโปรแกรมสมาธิบำบัด (SKT) ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับความดันโลหิตในพระสงฆ์ ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้อีริโทรไมซินเอสโทเลตชนิดรับประทานร่วมกับเมโทโคลพราไมด์เปรียบเทียบกับการใช้เมโทโคลพราไมด์ชนิดเดียวในผู้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่รับอาหารผ่านทางเดินอาหารได้ลดลง: การศึกษาเปรียบเทียบ กลุ่มควบคุมแบบสุ่มชนิดปกปิด 2 ทาง
- การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- การศึกษาขนาดยาต้านจุลชีพที่ใช้บ่อยในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยวิธี Monte Carlo simulation ในผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง
Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand