การศึกษาความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

Last modified: October 8, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
A Study of Development Need on Classroom Action Research of Teachers in Schools Under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวปัทมา  ยาประดิษฐ
Miss Patthama Yapradit
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี  เณรยอด
Assoc. Prof. Dr. Boonmee  Nenyod
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
Master of Education
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา
Educational Administration and Leadership
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 4: การศึกษายุค Digital Disruption (The 4th APHEIT-ED Academic Conference 2020: Digital Disruption in Education) วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

การอ้างอิง|Citation

ปัทมา ยาประดิษ. (2562). การศึกษาความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Yapradit P. (2019). A study of development need on classroom action research of teachers in schools under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต1 2.เปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การสอน และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน  กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1  ปีการศึกษา 2560  จำนวน  318  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยได้ส่งแบบสอบถามให้กับครูผู้สอนจำนวน 318 ฉบับ ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 318 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) การเปรียบเทียบความต้องการของครูผู้สอนที่มีสถานภาพต่างกัน ด้านระดับการศึกษาและการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการวิจัยโดยใช้ t – test ส่วนด้านประสบการณ์การสอน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One– way ANOVA) และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้การทดสอบของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 โดยภาพรวมพบว่ามีความต้องการอยู่ในระดับ มาก และ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน

2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1

พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกันในทุกด้านและหากพิจารณาจำแนกตามการอบรมเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูที่ได้รับการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูที่ไม่เคยได้รับการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนมีความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนมากกว่าครูที่เคยได้รับการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์และด้านเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนและด้านการกำกับติดตามการดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: การศึกษา, การสอน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยในชั้นเรียน


Abstract

Purposes of this research were; 1) to study the development needs on classroom action research of teachers in schools under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One, and 2) to compare the development needs on classroom action research of teachers in schools under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One according to their education level, teaching experience, and research training. Data were collected from 318 teachers in schools under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One during the academic year of 2560 through a questionnaire. Data were analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. Comparison of their needs on education level, and research training were tested by t-test, while one-way ANOVA test was used when comparing their teaching experiences. When a difference was found, a Sheffie’s test was applied.

Research findings were as follows 1) the development needs on classroom action research of teachers in schools under the Office of Samutprakarn Primary Educational Service Area One in overall was at the more high level. If considering each aspect, data showed that they were at the more level in all aspects, by which the classroom action research aspect had the highest score while the classroom action research had the lowest score; 2) When comparing the needs according to their education levels, and teaching experiences both overall and each aspect, data showed that they was no statistically significant different. However, when comparing teacher’s needs, according to their classroom action research training, data showed that they were statistically significant different at the 0.05 level both overall and the foundation knowledge on classroom action research aspect, the classroom action research consumption aspect, and the classroom action research distribution aspect. The classroom action research promotion and monitoring aspect showed no statistically significant different.

Keywords: education, teaching, experience, action research.


การศึกษาความต้องการการพัฒนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 813
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles