- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- คู่มือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า รุ่น Noise Catcher
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
คู่มือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า รุ่น Noise Catcher A Study of Manual Electric Steering Rack Diagnostic Tool – Model Noise Catcher |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายวุฒิไกร ไล้ Mr. Wuttikrai Lai |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr.Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2562 3/2019 |
การอ้างอิง/citation
วุฒิไกร ไล้. (2562). คู่มือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า รุ่น Noise Catcher. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
บริษัท สาธรฮอนด้าคาร์ส์ จำกัด เป็นบริษัทที่มีทั้งโชว์รูทและศูนย์บริการของรถยนต์ฮอนด้า ซึ่งมีหน้าที่ขายรถยนต์และบริการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ให้กับลูกค้าที่สนใจ ซึ่งลูกค้าที่ใช้รถยนต์ฮอนด้า รุ่น Civic Fc และ รุ่น CRV G5 นั้น ได้มีการพบว่า เวลาเลี้ยวรถยนต์ซ้ายสุดและขวาสุด มีเสียงดัง แต่อย่างไรก็ตามภายในองค์กร การตรวจสอบอาการที่ลูกค้าแจ้งซ่อมนั้น มีวิธีการและขั้นตอนการตรวจสอบค่อยข้างนานและเป็นวิธีการตรวจสอบแบบเดิม ๆ ทำให้การทำตรวจสอบ เสียเวลาต้องนำรถลูกค้าวิ่งทดสอบด้านนอกนักศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้แก่ช่างเทคนิคในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์เสียง และ ขั้นตอนการติดตั้งการใช้งานการตรวจสอบ แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า ที่มีการประกันคุณภาพในรถยนต์ฮอนด้า 3 ปี 100,000 กิโลเมตร สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เกิดปัญหาได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการลดระยะเวลาการตรวจสอบ และ ขั้นตอนการงานใช้เครื่องมือวิเคราะห์เสียง เพื่อให้อำนวยความสะดวกให้กับช่างเทคนิคในการตรวจสอบ และ ยังรวบรวมเก็บข้อมูล การวิเคราะห์รถทั้ง 2 รุ่น เพื่อให้เป็นแนวทางในการใช้งานและเครื่องมือวิเคราะห์เสียงได้อย่างถูกต้องโดยสามารถ ลดระยะเวลา การตรวจสอบ ได้ถึง 30 นาทีหรือคิดเป็น 54.55% (อ้างอิงจากช่างผู้มีความชำนาญงานประมาณ 10 ปี) ผู้จัดทำมุ่งหวังว่าโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางให้กับพนักงานหรือลูกค้าที่สนใจในรถยนต์ฮอนด้า
คำสำคัญ: ฮอนด้า, พวงมาลัยเพาเวอร์, เครื่องมือวิเคราะห์เสียง, แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า
Abstract
Sathorn Honda Cars Company Limited is a company that has both a show room and service center for Honda cars. They are responsible for selling cars and car maintenance services for customers. Customers using Honda Civic Fc models and Crv G5 models found that when turning the car to the far left and right side, there was a loud noise. However, within the organization, examination of the symptoms that the customer reported took a long time for the inspection methods and procedures, and is the same as conventional methods. Students purposed to educate technicians in the use of sound analysis tools, and the steps of installing, using, and checking the electric steering rack. With quality assurance in Honda cars for 3 years 100,000 kilometers, customers could replace the parts that had problems. The author created this project to shorten the inspection time and the process of using the sound analyzer, to facilitate the inspection technicians, collect data, and analyze both car models. To guide the use and sound analysis tools correctly, the inspection time can be shortened up to 30 minutes or 54.55% (based on 10 years of skilled technicians). The author hopes that this project will be useful and a guide for employees or customers interested in Honda vehicles.
Keywords: Honda, Manual Steering, Sound Analysis Tool, Electric Steering Rack.
คู่มือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แร็คพวงมาลัยไฟฟ้า รุ่น Noise Catcher | A Study of Manual Electric Steering Rack Diagnostic Tool – Model Noise Catcher
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related
- การออกแบบคู่มือการบำรุงรักษาระบบเกียร์ของรถยนต์ฟอร์ด
- การออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันของใบเลื่อยสายพาน: กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ.เอฟ. สเปเชียล สตีล จำกัด
- การกระจายตัวอุณหภูมิของผนังตู้รับส่งสัญญาณ
- การสร้างเครื่องสูบน้ำจากวัสดุเหลือใช้
- การหาค่าความปลอดภัยของท่อทองแดงในระบบก๊าซทางการแพทย์ กรณีศึกษา สถานีกาชาดที่ 11
- วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
- การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค