การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการประมวลสถานะการผลิตอย่างย่อ

Last modified: March 2, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการประมวลสถานะการผลิตอย่างย่อ
Research Article: Applying IoT for Mini-MES
ผู้เขียน/Author: ตะวัน ภูรัต | กาญจนาศิลาวราเวทย์
Email: tawan.phu@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Engineering in Computer Engineering,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ ๑๒ (ECTI-CARD 2020)

การอ้างอิง/citation

ตะวัน ภูรัต และ กาญจนา ศิลาวราเวทย์. (2563). การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการประมวลสถานะการผลิตอย่างย่อ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ ๑๒ (ECTI-CARD 2020) (หน้า 62-66). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI).


บทคัดย่อ

 บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในสายการผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศในรถยนต์เพื่อติดตามสถานะการผลิตเรียกว่าระบบมินิเอ็มอีเอส ระบบนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ใช้ราสเบอร์รีไพรุ่นที่ 3 และไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 เป็นหน่วยควบคุมติดตั้งในจุดสำคัญของสายการผลิตทำหน้าที่ตรวจนับจำนวนชิ้นส่วนที่ผลิตส่งไปบันทึกในฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ในส่วนที่สองคือระบบซอฟต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ โปรแกรมแบ่งเป็นส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์หรือเอพีไอเรียกว่าส่วนหลังใช้โหนดเจเอส และกรอบงานเอกซ์เพรส และส่วนหน้าเป็นการแสดงข้อมูลผ่านเว็บใช้กรอบงานรีแอคและเอ็กซิออส มีการเรียกใช้ส่วนเชื่อมต่อกับไลน์เพื่อรายงานการเกิดปัญหาการผลิตที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การทดสอบในสายการผลิตต้นแบบ พบว่าสามารถทำงานร่วมกันกับระบบงานเดิมได้หัวหน้าสายการผลิตสามารถเข้าถึงปัญหาได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ

คำสำคัญ: ระบบสมองกลฝังตัว, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, ระบบติดตามการผลิต, เรสเอพีไอ


ABSTRACT

This article presents an IoTs application for assembly line of the air condition parts for automobiles, which called Mini-MES in order to monitoring production system. However, the Mini-MES consists of two parts, which are a hardware and a software. The first one made from Raspberry PI3 and ESP32 that are used for monitoring and counting the number of products that flowed into the assembly line. The second part is used for recording and displaying information, which are MySQL database and the web server. Additionally, The Linux server contains 2 separate parts, which are the backend and the frontend. The backend contains Nodejs and Express.js framework as the application program interface called MesAPI, whereas the frontend contains React and Axios framework that called dashboard. Nevertheless, Line Notify API is used as an alarm in order to notify a supervisor that some productions might have been stalled. The result of testing, the Mini-MES can perform well with a traditional assembly line, which can help to increase supervisor’s responsiveness in order to solve the problems quickly and more effectively.

Keywords: Embedded System, IoTs, MES, REST API.


การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการประมวลสถานะการผลิตอย่างย่อ | Applying IoT for Mini-MES

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 372
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print