การเปรียบเทียบค่าความต้านทานของสายดินในระบบไฟฟ้า

Last modified: December 18, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การเปรียบเทียบค่าความต้านทานของสายดินในระบบไฟฟ้า
Comparing the Resistance of Ground Wires in Electrical systems
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายโกมล มะแก้ว
Mr. Komon Makaew
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธชัย  บรรเทิงจิตร
Assoc. Prof. Dr. Yuthachai Bunterngchit
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

โกมล มะแก้ว. (2562). การเปรียบเทียบค่าความต้านทานของสายดินในระบบไฟฟ้า. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Makaew K. (2019). Comparing the resistance of ground wires in electrical systems. (Master’s independent study). Bangkok: Master of Engineering in Engineering Management, Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและวิเคราะห์ความแตกต่างของขนาดสายตัวนำไฟฟ้าในดิน ว่าส่งผลมากน้อยเพียงใดต่อการหาค่าความต้านทานของระบบสายดินในระบบไฟฟ้า โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการเปรียบเทียบและทดลองโดยใช้ตัวอย่างของขนาดสายตัวนำไฟฟ้าในดิน ได้แก่ สายตัวนำขนาดเบอร์ 50, 70 และ 95 และได้ทำการสมมุติพื้นที่ขนาดหนึ่งๆขึ้นมา เพื่อใช้ในการทำการทดลองให้ได้ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการหาค่าความต้านทานของระบบสายดินในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งได้ทำการทดลองจำนวน 3 ครั้ง ในพื้นที่ต่างกัน แล้วจึงทำการหาค่าเฉลี่ยของความต้านทาน จากการทดลองพบว่าที่ขนาดสายตัวนำเบอร์ 50, 70 และ 95 มีค่าความต้านทานเท่ากับ 9.34, 9.32 และ 9.31 โอห์ม ตามลำดับ จากการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ ANOVA ทำให้สรุปได้ว่าค่าความต้านทานจากสายตัวนำทั้ง 3 ขนาดดังกล่าวไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ  เราจึงสามารถเลือกใช้สายตัวนำในดินขนาดต่ำสุดที่เบอร์ 50 ที่สามารถยอมรับให้ใช้ได้ มีราคาเมตรละ 229 บาท  และสามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของวัสดุสายดินลง 221 บาทคิดเป็นร้อยละร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับขนาดสายเบอร์ 95 ที่มีราคาเมตรละ 450 บาท

คำสำคัญ: ระบบสายดินในระบบไฟฟ้า, สายตัวนำไฟฟ้า, ANOVA, การลดค่าใช้จ่าย


Abstract

The purposes of this research were to evaluate and analyze the differences in electrical conductivity in soil that affects the resistance of the grounding system. The research was carried out by using samples of conductor sizes in the soil, including numbers 50, 70 and 95. Three locations of the same size were selected for the experiments to get various parameters. The parameters were used as an element in determining the resistance of the grounding system in each location. Each location had three experiments using the different conductors. The averages of the resistance from the experiment in the three locations were found to be 9.34, 9.32 and 9.31 Ohms for the conductor numbers 50, 70 and 95, respectively. After using  ANOVA, it was learned that the resistance of the three conductors were not different. Therefore, it was concluded from this experiment that the difference in the three conductors did not affect the ground resistance significantly. So, we can choose to use the conductor in the lowest size of the number 50, which was the minimum size that can be accepted. The price of the number 50 conductors was 229 Baht per meter. When compared to 450 Baht per meter for the conductor number 95, the first one was 221 Baht cheaper. So, the total reduction could be 49%.

Keywords:  grounding system, conductor, ANOVA, cost reduced.


การเปรียบเทียบค่าความต้านทานของสายดินในระบบไฟฟ้า Comparing the Resistance of Ground Wires in Electrical systems

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 348
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code