ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร

Last modified: January 19, 2020
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร
Efficiency of Sangha Administration: A Case Study of Temples in Nong Khaem District, Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระสุธา ไทย
Sotha Thai    
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. สุเมธ แสงนิ่มนวล
Sumet Saengnimnuan, Ph.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

พระสุธา ไทย. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ กรณีศึกษาในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์กรณีศึกษาในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ กรณีศึกษาในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ กรณีศึกษาในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมายคือพระสงฆ์สามเณรทั้ง 7 วัดในเขตหนองแขม 195 รูป ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance) เพื่อทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพของการบริหารด้านการปกครอง ด้านศาสนศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการเผยแผ่อยู่ในระดับมาก 2) ตำแหน่งทางสงฆ์ จำนวนพรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพต่อการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามข้อสมมติฐาน งานวิจัยนี้พบว่า ถึงแม้จะไม่เป็นตามข้อสมมติฐานแต่การบริหารส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางมีเพียงด้านการเผยแผ่มีค่าเฉลี่ยมาก จำเป็นต้องพัฒนาและยกระดับการบริหารให้สูงขึ้นไป ทั้งนี้ ผู้นำทางสงฆ์สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการกำหนดวิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารทุกด้านให้สูงและเป็นรูปธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ, การบริหารงานกิจการคณะสงฆ์


Abstract

The objectives of this research were: (1) to study the condition of factors and the condition of the administration of monastic affairs a case study in NongKhaem area of Bangkok ;and (2) to compare the efficiency of administrative Sangha affairs a case study in NongKhaem area of Bangkok. This research employed quantitative research. The sample consisted of 195 Buddhist monks in temples of NongKhaem district. The data were collected via a questionnaire and analyzed with descriptive statistics and one-way analysis of variance.

The research findings indicated that: 1) The current state of administration factors were as follows: the administration, religious education, educational aids, public assistance and public aids were medium level; religious propagate was high level; 2) The difference of position of the monk, education, age of ordinary and administrative experience effected administrative Sangha affairs had no difference, it’s not in accordance with assumption.

This research found that although, it’s not accordance with assumption but most current state of administrations were medium level, only religious propagation was high level. It is necessary to develop and upgrade the administration to a higher level. The monastic leaders can use this research to determine the vision and plan for administrative operation of administrative Sangha affairs in order to raise the efficiency of all administrative aspect and more tangible than current state.

Keywords:  Efficiency, Sangha Administration.


ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร / Efficiency of Sangha Administration: A Case Study of Temples in Nong Khaem District, Bangkok

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 2
Views: 697
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code