ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้มีรายได้ระดับปานกลาง เขตกรุงเทพมหานครตอนใต้

Last modified: March 9, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้มีรายได้ระดับปานกลาง เขตกรุงเทพมหานครตอนใต้
Research Article: Factors Affecting purchasing decisions “One Tumpon One Product” Merchandises of Middle Class Consumers in Southern Bangkok Metropolitan Area
ผู้เขียน/Author: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เบญจวรรณ บวรกุลภา |  Assist. Prof. Dr. Benjawan Bowonkulpa
Email: benchawan@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Business Administration in Marketing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2

การอ้างอิง/citation

เบญจวรรณ บวรกุลภา. (2553). ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้มีรายได้ระดับปานกลาง เขตกรุงเทพมหานครตอนใต้. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 3(2), 77-89.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และการรับสือในกลุ่มผู้มีรายได้ ระดับปานกลางและปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นรูปแบบวิจัยเชิงสํารวจ โดยผู้วิจัยพิจารณาศึกษาลักษณะประชากรคือพนักงานบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาท กําหนดแบบสอบถาม 400 ชุด ใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Judpmental Sampling) ระยะเวลารวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน กรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ลักษณะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.8 และเพศหญิง ร้อยละ 49.8 และ มีช่วงอายุ ระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 62 และ 31-40 ปี ร้อยละ 24.5 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 61.5 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50 และประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 83.8 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท ร้อยละ 44.3, และ 50,001-10,000 บาท ร้อยละ 43.0 ตามลําดับ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและการรับสือผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ พบว่า เลือกตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร 5 อันดับแรกคือ น้าพริก คิดเป็นร้อยละ 20.3, ผักปลอดสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 14.8, หมูยอทรงเครื่อง คิดเป็นร้อยละ 13.4, แหนม คิดเป็นร้อยละ 11.9, และเมล็ดทานตะวัน คิดเป็นร้อยละ 9.2 ตามลําดับ และ เลือกตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่มิใช่อาหาร 5 อันดับแรกคือ เฟอร์นิเจอร์หวาย คิดเป็นร้อยละ 15.5, เครื่อง แก้วเพ้นท์สี คิดเป็นร้อยละ 15.5, ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป คิดเป็นร้อยละ 12.7, ดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน คิดเป็นร้อยละ 11.1, และกรอบรูปเรซิ่นคิดเป็นร้อยละ 11.0 ตามลําดับ
เฟอร์นิเจอร์หวาย เครื่องแก้วเพ้นท์สี ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป ดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน กรอบรูปเรซิ่น ตามลําดับ โดยสาเหตุของการตัดสินใจซื้อ 5 อันดับแรกคือ อุดหนุนสินค้าไทย เป็นของฝาก ตกแต่งบ้านด้วยตนเอง สินค้าราคาถูก และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตามลําดับ และมีการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/เดือน มีค่าใช้จ่าย ในการซื้อต่ํากว่า 500 บาท/ครั้ง ด้านการรับสือในการซื้อผลิตภัณฑ์ หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 5 อันดับแรก คือ ทีวี คิดเป็น ร้อยละ 23.6, หนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 23.6, แผ่นพับ/ใบปลิว คิดเป็นร้อยละ 15.2, อินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 12.2, และนิตยสาร/ วารสาร 12.2 ตามลําดับ ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่ง ตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยภาพรวมแต่ละด้านของส่วนประสมทางการตลาด ความสําคัญมากที่สุดคือ ด้านราคาค่าเฉลี่ย 3.49, ผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ย 3.43, ช่องทางจัดจําหน่ายค่าเฉลี่ย 3.23, ด้านการส่งเสริมการตลาดค่าเฉลี่ย 2.95 ตามลําดับ

คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์


ABSTRACT

This study aims to investigate behaviors and marketing factors of middle class consumers when they buy merchandises of “One Tumpon One Product” and their channels of the merchandises’ information. This study used Judgemental Sampling that considered male and female subjects who work in private and public firms as semispecialists and specialists and have income 5,000 Baht or above. 400 questionnaires were issues. Field survey ran between July and August 2007.

This study found that male and female subjects are about the same proportion, 50% each at the age between 21 – 30 years old. The majority of subjects are single, hold bachelor’s degree, work in private firms, and have income between 10,001 – 15,000 Baht and 50,001-10,000.

For decision to buy and channels of the merchandises’ information, this study found that most subjects buy the first 5 merchandises of food category that are Nam Priek, Phak Prod San Pit, Moo Yao Song Krueng, Naem, and Ma Led Tan Ta Wan and buy the first 5 merchandises of non food category that are Waii furnitures, painted glass wares, man-made flowers from renewable materials, man-made flowers from clay, and raisin picture frames respectively. The reasons of buying are supporting Thai products, gifts, home decoration, reasonable price, and uniqueness of the products. The most influencing person in subjects’ buying decision is themselves, 51.3%. The frequency of buying is 1 – 2 times per month with the spending of less than 500 Baht per time. The first 5 channels of the merchandises’ information are television, newspaper, brochure, the internet, and magazine. Finally, the questionnaires indicate that marketing factors affecting decision to buy of the subjects are price, product, place, and promotion respectively.

Keywords:  Factors affecting purchasing decisions, One Tumpon One Product..


ปัจจัยที่ผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้มีรายได้ระดับปานกลาง เขตกรุงเทพมหานครตอนใต้ | Factors Affecting purchasing decisions “One Tumpon One Product” Merchandises of Middle Class Consumers in Southern Bangkok Metropolitan Area

Faculty of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 264
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code