ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อ และเจตคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ากับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนของเยาวชนไทย ในภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Last modified: January 11, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อ และเจตคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ากับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนของเยาวชนไทย ในภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Title: Association between Personal Factors, Beliefs, and Attitudes towards E-cigarettes and Cigarettes Use among Thai Youths in Central Region, Bangkok and its Perimeter
ผู้วิจัย (Researcher): อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, วิภานันท์ ม่วงสกุล, สุลีมาศ อังศุเกียรติถาวร, มธุรส ทิพยมงคลกุล และภาศิษฏา อ่อนดี – Acharaporn Seeherunwong, Wipanun Muangsakul, Suleemas Angsukiattitavorn, Mathuros Tipayamongkholgul and Pasitta Ondee
หลักสูตรที่สอน (Degree): พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สาขาที่สอน (Major): พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สังกัดคณะวิชา(Faculty of study): พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
Academic year: 2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่/(Published): วารสารแพทย์นาวี ปีที่ 50 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 หน้า 579-594 – Royal Thai Navy Medical Journal, Volume 50 No.3 September-December 2023 pp.579-594
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/article/view/267398/180355 

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงบรรยายนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อและเจตคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ากับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนของเยาวชนไทย กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ช่วงอายุ 15 – 24 ปี ปีการศึกษา 2564 ในภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑลกลุ่มตัวอย่าง 3,830 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์โดยใช้แอปพลิเคชัน Google Forms การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติความสัมพันธ์ใช้ไคสแควร์ และหาขนาดของความสัมพันธ์ใช้ Odds ratio (OR) ด้วย Multinomial Logistic regression ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนมีความชุกในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ร้อยละ 4.1) และบุหรี่มวน (ร้อยละ 4.6) เพศชายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุ 15 – 17 ปี เป็นช่วงอายุที่เริ่มใช้บุหรี่มากที่สุด เยาวชนอาชีวศึกษาภาคกลางใช้บุหรี่มวนมากที่สุด ร้อยละ 25.7 ส่วนเยาวชนอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด ร้อยละ 23.1 เยาวชนที่ศึกษาสถาบันเอกชนใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าสถาบันรัฐ ส่วนเยาวชนศึกษาสถาบันรัฐใช้บุหรี่มวนมากกว่าสถาบันเอกชน และเยาวชนที่อาศัยอยู่ในหอพักสถาบันมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด (ร้อยละ 10.9) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ พบว่า เพศ อายุ ประเภทการศึกษา ประเภทสถานศึกษา ภูมิภาค และที่พักอาศัยปัจจุบันที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บุหรี่ของเยาวชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อและเจตคติต่อพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวน โดยใช้เยาวชนที่ไม่เคยสูบหรือเลิกสูบนานกว่า 1 ปี เป็นกลุ่มอ้างอิง พบว่า เยาวชนชายภาคกลางมีโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 4 เท่า และใช้บุหรี่มวนถึง 5 เท่า (OR 4.43, 95%CI 2.26, 8.68, p < .001; OR 5.46, CI 3.21, 9.32, p < .001 ตามลำดับ) เยาวชนอาชีวศึกษาภาคกลางมีโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 3 เท่า และใช้บุหรี่มวนสูงเกือบ 8 เท่า (OR 3.42, 95%CI 1.81, 6.45, p < .001; OR 7.97, 95%CI 4.31, 14.71, p < .001 ตามลำดับ) เยาวชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่พักอาศัยในหอพักสถาบันมีโอกาสในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 4 เท่า (OR 4.54, 95%CI 1.28, 16.09, p < .05) ในด้านความเชื่อและเจตคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่า เยาวชนที่มีความเชื่อและเจตคติทางบวกต่อบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนมากกว่ากลุ่มเยาวชนที่มีความเชื่อและเจตคติทางลบต่อบุหรี่ไฟฟ้า

คำสำคัญ: บุหรี่ไฟฟ้า, บุหรี่มวน, เยาวชนไทย, ความเชื่อ, เจตคติ


Abstract

This descriptive research aimed to study the association between personal factors, beliefs and attitudes towards electronic cigarettes (e-cigs) and cigarettes use among Thai youths in high school and vocational school. The samples were 3,830 youths aged 15-24 years in academic year 2021 and live in central region, Bangkok and its perimeter. Data were collected by using online questionnaires, via Google Forms Application. Data were analyzed using statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and the crude odds ratio (OR) by multinomial logistic regression at 95% confidence level. The results of this study showed that the Thai youths had prevalence using e-cigs (4.1%) and cigarettes (4.6%). Males smoked both e-cigs and cigarettes more than females. The age range at which youths started smoking was 15 – 17 years. Vocational students in the Central Region used cigarettes the most (25.7%), while vocational students in Bangkok metropolitan used e-cigs the most (23.1%). Youths of private institutions used e-cigs more than government institutions whereas youths of government institutions used cigarettes more than private institutions. Youths living in dormitory of the institute used e-cigs the most (10.9%). When investigating the association between personal factors and smoking behavior, it was found that gender, age, education type, type of institutions, regions and current residences were associated with youths smoking behavior at statistical level of .001. The association between personal factors, beliefs and attitudes towards e-cigs and cigarettes use compared to those who never used or quit smoking more than 1 year as a reference group, it was found that males in the central region were 4 times more likely to use e-cigs and 5 times more likely to use cigarettes (OR 4.43, 95%CI 2.26, 8.68, p < .001; OR 5.46, CI 3.21, 9.32, p < .001, respectively). Vocational students in central regions had 3 times, higher chance of using e-cigs and almost 8 times higher chance of using cigarettes (OR 3.42, 95%CI 1.81, 6.45, p < .001; OR 7.97, 95%CI 4.31, 14.71, p < .001, respectively). The youths in Bangkok living in institutional dormitories had up to 4 times greater chance of using e-cigs. (OR 4.54, 95%CI 1.28, 16.09, p < .05). It was found that youths who had positive beliefs and attitudes towards e-cigs were more likely to use both e-cigs and cigarettes than youths who had negative beliefs and attitudes.

Keywords: e-cigarette, cigarette, Thai youths, beliefs, attitudes.

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 355
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles