ชื่อโครงงาน: Project Title: |
แยมพายนาน่า Pinana Jam |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวพรรณนิภา วงศ์เจริญ Miss Pannipa Wongcharoen |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์นันทินี ทองอร Miss Nanthinee Thongorn |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2562 1/2019 |
การอ้างอิง/citation
พรรณนิภา วงศ์เจริญ. (2562). แยมพายนาน่า. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องแยมพายนาน่า จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำแยมจากผลไม้และน้ำผลไม้ที่เหลือจากไลน์บุฟเฟต์ของโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพฯ สีลม โรด ซึ่งในแต่ละมื้อจะมีทั้งอาหาร ของหวาน ผลไม้ และเครื่องดื่ม ซึ่งในส่วนของอาหารนั้นไม่สามารถนำไปแปรรูปได้ แต่ผลไม้บางชนิดสามารถนำมาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ได้ ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการนำผลไม้มาทำเป็นแยม โดยนำสับปะรด กล้วยไข่ และน้ำสับปะรดที่เหลือจากไลน์บุฟเฟต์มาทำ ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยลดปริมาณของขยะจำพวกผลไม้และน้ำผลไม้ นอกจากนี้ยังสามารถนำออกขายในไลน์บุฟเฟต์ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย
หลังจากได้ทำการทดลองทำแยมพายนาน่า ผู้จัดทำได้ทำการสำรวจความคิดเห็น โดยการทำแบบสอบถามความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานของโรงแรมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 30 คน เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงาน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานของโรงแรมมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านรสชาติ รองลงมาคือความเหมาะสมที่จะนำไปใช้จริง รองลงมาคือความแปลกใหม่ รองลงมาคือความสะอาด และตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโครงงานแยมพายนาน่า มีความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก
คำสำคัญ: แยม, สับปะรด, กล้วยไข่, เลม่อน
Abstract
The Pinana Jam project was created to study how to make jam from fruit and juices left from the buffet line of the Novotel Bangkok Silom Road Hotel, which has many foods, sweets, fruits, and beverages left after each meal. The leftover food could not be further processed, but some fruits could be used to create new products. Therefore, the author decided to study information on how to make jam from fruits using pineapples and bananas left from the buffet, which could help reduce fruit and juice waste. Moreover, it could also be sold on the buffet line as a new option for customers to choose.
After experimenting and creating Pinana Jam, the author conducted a survey using a questionnaire on the satisfaction of a sample group consisting of 30 hotel employees in order to learn the results of the project. From
the study, it was found that hotel employees had the highest satisfaction with jam’s taste, followed by the
appropriateness of practical usage, novelty, and cleanliness respectively. Therefore, it could be concluded that Pinana Jam project has satisfaction at a high level.
Keywords: Jam, Pineapple, Banana, Lemon.
แยมพายนาน่า | Pinana Jam
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand