การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน

Last modified: September 14, 2022
You are here:
  • KB Home
  • หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน
Research Article: Prevalence, antimicrobial susceptibility and molecular study of sequence type (ST239) of methicillin-resistant Staphylococcus aureus isolated from patients at Taksin Hospital
ผู้เขียน/Author: ศ.ดร.ภญ. สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง, รศ.ดร.นพ. ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์, นางหัทยา ธัญจรูญ, ดร.ภญ.วิภาวี รอดจันทร์, ภก.อภิโชติ โซ่เงิน | Somporn Srifuengfung, Chanwit Tribuddharat, Huttaya Thuncharoon, Vipavee Rodjun, Apichot So-Ngern
Email: somporn.sri@mahidol.ac.th
สาขาวิชา/คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน

การอ้างอิง/citation

สมพร ศรีเฟื่องฟุ้ง, ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์, หัทยา ธัญจรูญ, วิภาวี รอดจันทร์ และ อภิโชติ โซ่เงิน. (2563). การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

เชื้อ Staphylococcus aureus เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ต้องการทราบความชุกของเชื้อนี้และ ความไวต่อยาจุลชีพ รวมทั้งศึกษาในระดับยีนดื้อยา เช่น ยีน sequence type (ST) ชนิด ST239ในเชื้อ S. aureus ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน เชื้อทั้งหมดจำนวน 700 สายพันธุ์ได้ทำการตรวจหา methicillin-resistance  S. aureus  (MRSA) และmethicillin-sensitive  S. aureus  (MSSA) ผลการศึกษาพบว่าเป็น MRSA 22.86%  และMSSA 87.4%   พบเชื้อมากที่สุดจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่เป็นเสมหะ (51.96%) รองลงมาคือ หนอง (28.46%) และเลือด (14.79%)   สำหรับผลการทดสอบความไวของเชื้อ MRSA ต่อยาต้านจุลชีพพบว่ามีอัตราความไวดีต่อยาfosfomycin, fusidic acid, gentamycin, tetracycline, trimethoprim-sulphamethoxazole และ vancomycin  (ไว 70-100%)   แต่ดื้อยามากคือ ciprofloxacin, clindamycin และ erythromycin      ส่วนผลการทดสอบความไวของเชื้อ MSSA ต่อยาต้านจุลชีพพบว่ามีอัตราความไวดีต่อยาทุกชนิดทีทำการทดลอบ (ไว 88.33-100%) ยกเว้น tetracycline (65.56%)    สำหรับเชื้อ MRSA ค่า minimal inhibitory concentration range, MIC50 and MIC90 ของยา vancomycin คือ  0.25-2.0, 0.5 and 1.0 µg/ml ตามลำดับ  โดยใช้ D-test พบฟีโนทัยป์ของเชื้อ MRSA ที่มีลักษณะของ  Inducible macrolide, lincosamides and type B streptogramins resistance (iMLSB)  จำนวน 10% แต่พบ  iMLSB เพียง 2.78% ในเชื้อ MSSA     สำหรับการดื้อยาพร้อมกันหลายชนิดแบบ multiple drug resistance (MDR) พบว่า 90%  ของ MRSA เป็น MDR   นอกจากนี้ทำการสุ่มตัวอย่างเชื้อ MRSA มาจำนวน 37 สายพันธุ์เพื่อใช้เทคนิคพีซีอาร์ในการตรวจหายีน sequence type (ST) ชนิด ST239  ผลการศึกษาพบ  2.7% ซึ่งเป็นประโยชน์ทางระบาดวิทยา

คำสำคัญ: สแตฟฟิโลคอคคัสออเรียส, MRSA, sequence type, ST239


ABSTRACT

We evaluated 700 Staphylococcus aureus non-duplicate isolates from different patients of all ages. S. aureus from various clinical specimens was identified by standard microbiological methods. The prevalence was 160 isolates (22.86%) of MRSA and 540 (77.14%) of MSSA, with no mean age ± standard deviation, and gender difference between both groups. The three most common clinical specimens were sputum (51.96%), pus (28.49%) and blood (14.79%), accounting for 95.24% of all specimens. MRSA was sensitive to fosfomycin, fusidic acid, gentamycin, tetracycline, trimethoprim-sulphamethoxazole and vancomycin (range 70-100%), but resistant to ciprofloxacin, clindamycin and erythromycin.  MSSA was sensitive to all drugs tested (range 88.33-100%), except tetracycline (65.56%). The vancomycin minimal inhibitory concentration range, MIC50 and MIC90 values in MRSA were 0.25-2.0, 0.5 and 1.0 µg/ml by using E-test. All 700 S. aureus isolates were detected for the presence of inducible and constitutive clindamycin resistance phenotype by using D-test.  Inducible macrolide, lincosamides and type B streptogramins resistance (iMLSB) was observed in 10% of all MRSA and 2.78% of all MSSA isolates. The majority of MRSA isolates (78.75%) constituted MLSB phenotype (cMLSB); this phenotype was seen in 7.96% of all MSSA isolates. Finally, 8.75% of MRSA isolates and 88.33% of MSSA showed sensitivity to both erythromycin and clindamycin. For MRSA isolates, 90% (144/160) were multiple drug resistance with the most common pattern was resistant to ciprofloxacin, clindamycin and erythromycin (79 isolates). This is the first report of decreasing of predominant MRSA ST239 clone from 93% in 2008 to 2.7% in 2020 in Thailand.

Keywords: Staphylococcus aureus, MRSA, sequence type, ST239.

 

Pharmacy-2020-Research Report-Prevalence, antimicrobial susceptibility and molecular


การศึกษาความชุก ความไวต่อยาต้านจุลชีพ และคุณลักษณะระดับโมเลกุลของยีนที่มีพันธุกรรม sequence type (ST) ชนิด ST239 ในเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลตากสิน | Prevalence, antimicrobial susceptibility and molecular study of sequence type (ST239) of methicillin-resistant Staphylococcus aureus isolated from patients at Taksin Hospital

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 747
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code