การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร

Last modified: August 25, 2020
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
Prevention and Solutions of Drugs Problem by Public Participation in Pu Yen YaKhum Yang Yoo Community Laksong Bangkae Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ว่าที่ ร.ต.รณกฤต  จิตต์ธรรม
Acting Sub Lieutenant Ronnakrit Jittham
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.สุเมธ แสงนิ่มนวล
Dr. Sumet Saengnimnuan
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020

การอ้างอิง/citation

รณกฤต  จิตต์ธรรม. (2562). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ แขวงหลักสอง เขตบางแค  กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงวิธีการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับข้อคำถามแบบปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนภาคประชาชนที่ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ 4  กลุ่มหลัก  ได้แก่  คณะกรรมการชุมชน  คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน  อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และคณะกรรมการชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน  12  คน  โดยกลุ่มคณะกรรมการดังกล่าวเป็นผู้ทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ โดยตรงจึงถือว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและจากการศึกษาพบว่ามีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่  1) กลุ่มต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้น  ได้แก่  คณะกรรมการชุมชน  กองทุนแม่ของแผ่นดิน  อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด  ชมรม TO BE NUMBER ONE มีการประสานการทำงานกันอย่างใกล้ชิด  มีความเข้มแข็งโดยภาพรวม  2) ทุกกลุ่มที่กล่าวมามีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเน้นให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม  ทั้งเป็นผู้ร่วมกิจกรรม  ร่วมดำเนินงาน  ร่วมสมทบทุน  เป็นต้น  3)  กิจกรรมที่กลุ่มต่าง ๆ จัดขึ้นนั้นมีกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมครอบคลุมกับทุกช่วงอายุ  4) มีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  เช่น  สำนักงานเขต  ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 (บางแค)  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  เป็นต้น

ปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ผลจากการศึกษาพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค  ดังนี้  1) การมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีค่อนข้างน้อย  อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมต่างคนต่างอยู่ของสังคมเมือง  การไม่เห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด  การไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด  เป็นต้น  2) งบประมาณไม่เพียงพอ

แนวทางในการปรับปรุงวิธีการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่จากการศึกษากลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้คำเสนอแนะ  ดังนี้  1) ส่งเสริมและทำความเข้าใจให้ประชาชนที่อาศัยในชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติดและตระหนักว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของส่วนรวมทุกคนต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาจะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีมากขึ้น  2) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ  3) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองดูแล  สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด  เป็นการป้องกันยาเสพติดโดยครอบครัวซึ่งเป็นด่านแรกที่สำคัญที่สุด  4) สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนให้มีทัศนคติที่ห่างไกลยาเสพติด 5) สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน  ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย  จากการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้ข้อคำถามแบบปลายเปิดพบว่าการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่  มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  กลุ่มที่ดำเนินงานมีความเข้มแข็ง  มีการทำงานประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด  แต่ด้วยปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนมีค่อนข้างน้อย  บวกกับงบประมาณที่มีไม่เพียงพอทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนประสบผลสำเร็จไม่เต็มที่  ปัญหายาเสพติดในชุมชนลดลงและหมดไปในบางเวลา  แต่ปัญหายาเสพติดก็จะกลับมาใหม่เรื่อย ๆ วนสลับกันไป  สรุปแล้วการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่  ประสบผลสำเร็จแต่ไม่ยั่งยืน

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ การศึกษาถึงกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด  เนื่องจากถ้าหากเด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันแล้ว  จะลดโอกาสที่จะเกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ได้

คำสำคัญ: การป้องกันยาเสพติด, ปัญหายาเสพติด, ชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่


Abstract

This research was the study on the prevention and solution of drug problems within public participation in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community. The  objectives of this research were: 1) to study the process of drug prevention and solution focusing on the participation of people in the community; 2) to study the solution obstacles of drug  prevention and solution in the community; and 3) to study the improvement of drug prevention and solution process in the community to be more effective. This research was qualitative research using unstructured interviews and open-ended questions as the data collection tools. The related informants were 4 main groups of representatives from the public sector, working on drug prevention and solutions in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community. These community committees included, Kongtunmae Kong Pandin committee, drug surveillance volunteers and TO BE NUMBER ONE committee for a total of 11 people. The mentioned committee directly worked on drug prevention and solutions in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community; therefore, they were the key informants of  the research.

The results found that drug prevention and solutions focused on participation in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community and was done continuously with these important principles: 1) the established groups were community committee members, Kongtunmae Kong Pandin, drug surveillance volunteers and TO BE NUMBER ONE group worked closely, were coordinated and strong; 2) the mentioned groups had consistent activities focused on people participating in activities, procedures and supporting ; 3) the activities were various covering all ages;  4) the relating governmental sector also supported efforts, such as district offices, public health center  40 (Bang Khae), police officers etc.

The obstacles of drug prevention and solution procedures were: 1) there was little participation from people from the distancing culture of civil society due to the ignorance of drug problems or the need to stay away from drug problems etc; 2) inadequate budget. The improvement of drug prevention and solution process from the study on the informants were: 1) promote and educate people in the community on the importance of drug problems and create awareness that drug are a mutual problem that everyone needed to help prevent and solve the problem; 2) provide adequate budget; 3) encourage parents to supervise children to stay away from drugs, which was the first important factor; 4) create a healthy mindset for youths to prevent interest in drugs; 5) establish a network with governmental and private sectors for the participation of prevention and solutions drug problems.

The results from the unstructured interviews found that the procedures of drug prevention and solution process in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community was continuous. The working groups showed strength with close coordination but the problems were low participation from people in the community, as well as inadequate budget to create success. The drug problems faded and disappeared but came back again and continued as a circle. In conclusion, drug prevention and solution process in Pu Yen YaKhum Yang Yoo community was successful but not sustainable.

It is suggested to further research on the awareness procedures for youths to stay away from drugs because if they have resilience, the chance of new addictions would be reduced.

Keywords:  Drug prevention,  Drug problem, Pu Yen YaKhum Yang Yoo community.


การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนปู่เย็น ย่าคำ ยังอยู่ แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร | Prevention and Solutions of Drugs Problem by Public Participation in Pu Yen YaKhum Yang Yoo Community Laksong Bangkae Bangkok

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1200
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code