การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม โดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

Last modified: September 14, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม โดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
Research Article: Prospective Study of Cost Description of Autism Spectrum Disorders at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital
ผู้เขียน/Author: กฤษฎาดนุเดช วงศ์เวชวิวัฒน์, ใจนุช กาญจนภู, สุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์, พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์ และ ธีรารัตน์ แทนขา |Kridsadadanudej Wongwejwiwat, Jainuch Kanchanapoo, Suwapab Techamahamaneerat, Pithan Kositchaivat and Theerarat Tan-Khum
Email: kridsadadanudej.won@siam.edu ; jainuch.kan@siam.edu ; suwapab.tec@siam.edu ; pithan.kos@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม โดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

การอ้างอิง|Citation

กฤษฎาดนุเดช วงศ์เวชวิวัฒน์, ใจนุช กาญจนภู, สุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์, พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์ และ ธีรารัตน์ แทนขา. (2564). การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม โดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Wongwejwiwat K., Kanchanapoo J., Techamahamaneerat S., Kositchaivat P., & Tan-Khum T. (2021). Prospective study of cost description of autism spectrum disorders at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital (Research Report). Bangkok: Faculty of Pharmacy, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ในมุมมองของสังคม โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ทำการสุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์ผู้ดูแล และเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเอเอสดี อายุระหว่าง 3 – 18 ปี โดยทำการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าเป็นระยะเวลา 3 ปี แล้วนาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต้นทุน 3 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และต้นทุนทางอ้อม โดยนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Mann-Whitney test และ Kruskal Wallis สาหรับข้อมูลต้นทุนที่มีการแจกแจงไม่ปกติ ในส่วนของข้อมูลต้นทุนที่แจกแจงปกติถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ independent t-test และ one way ANOVA จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 ราย พบว่า ต้นทุนรวมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการเอเอสดีต่อราย มีต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 313,624.11 บาทต่อปี ต้นทุนที่มีค่าสูงที่สุดอันดับแรกคือ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ 245,374.82 บาทต่อปี (ร้อยละ 78.24) รองลงมา ได้แก่ ต้นทุนทางอ้อม คิดเป็น 40,218.08 บาทต่อปี (ร้อยละ 12.82) และต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ 28,031.21 บาทต่อปี (ร้อยละ 8.94) ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ที่สูงที่สุด ได้แก่ ต้นทุนกิจกรรมด้านฟื้นฟูหรือส่งเสริมสมรรถภาพ ขณะที่ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์มีต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน มีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ และ ต้นทุนรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.001 และ 0.0281 ตามลาดับ) ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคออทิซึม มีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์มากกว่าที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นพีดีดี เอ็นโอเอส และแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษาสามารถนามาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนงบประมาณสาหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมในประเทศไทยในอนาคต

คำสาคัญ: กลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม, ต้นทุน, ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์, ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์, ต้นทุนทางอ้อม


ABSTRACT

This pilot study was aimed to describe the cost of autism spectrum disorder at Yuwaprasart Waithayopathum hospital in social perspective. The costs of autism spectrum disorder was collected by randomly interviewing the caregivers and reviewing the medical records of autism spectrum disorder patients aged between 3 – 18 years old, prospectively for 3 years. The costs of autism spectrum disorder were reported into three components: direct medical, direct non-medical and indirect costs. The data were statistically analyzed by Mann-Whitney test, Kruskal Wallis test, independent t test and one way ANOVA. Total of 147 sampling results showed the average total costs of autism spectrum disorder per person of 313,624.11 baht per year. The highest costs were direct non-medical costs 245,374.82 baht per year (78.24%), followed by indirect costs 40,218.08 baht per year (12.82%) and direct medical costs 28,031.21 baht per year (8.94%). The rehabilitation cost was the highest among direct medical costs. From the study, direct non-medical costs were mostly counted on the household expenditures. Furthermore, direct medical costs and total cost were significantly different among groups of sex (p < 0.001 and p = 0.0281, respectively), and between groups of different diagnosis of autism spectrum disorder (p < 0.001) .The results may provide some basic information for budgeting and strategic planning concern the care of autism spectrum disorder patent of Thailand in the future.

Keywords: Autism spectrum disorder, Costs, Direct medical costs, Direct non-medical costs, Indirect costs.

 

Pharmacy-2022-Research Report-Prospective Study of Cost Description of Autism Spectrum Disorders


การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม โดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ | Prospective Study of Cost Description of Autism Spectrum Disorders at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 243
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code