- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- -สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ระบบจัดการร้านอาหาร
หัวข้อปริญญานิพนธ์: Project Title: |
ระบบจัดการร้านอาหาร Restaurant Management System |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายปริญญา อภัยภักดิ์, นายณัฐพล เสาวพงษ์ Mr.Parinya Apaipak, Mr.Nattapon Saowapong |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์นิตินัย ไพศาลพยัคฆ์ Mr. Nitinai Paisanpayak |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science |
ภาควิชา: Major: |
เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology |
คณะ: Faculty: |
เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2562 2019 |
การอ้างอิง/citation
ปริญญา อภัยภักดิ์ และ ณัฐพล เสาวพงษ์. (2562). ระบบจัดการร้านอาหาร. (โครงงาน). กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของภาคนิพนธ์นี้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลต่างๆ และช่วยให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การพัฒนาระบบจัดการร้านอาหาร โดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2017 ในการออกแบบพัฒนาระบบจัดการร้านอาหาร ใช้ภาษา C# ในการเขียนโปรแกรม และใช้การจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft SQL Server 2017 ระบบจัดการร้านอาหารสามารถใช้งานด้านการเก็บข้อมูลต่างๆ มีเมนูให้เลือก เช่น จองโต๊ะอาหาร ตัดจำหน่ายวัตถุดิบ เพิ่มสูตรวัตถุดิบ รายงานสรุปยอดแบบเลือกวันที่ ซึ่งผลที่ได้รับจากการพัฒนาระบบแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถทำงานได้ตรงขอบเขต ลดข้อผิดพลาดในการให้บริการ ตลอดจนทำให้ลดความซับซ้อนของการสั่งซื้อ และจัดการวัตถุดิบพร้อมทั้งการตัดจำหน่ายวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำสำคัญ : จัดการร้านอาหาร, จองโต๊ะอาหาร, ตัดจำหน่ายวัตถุดิบ
Abstract
The Purpose of this project is to design and develop an effective Restaurant Management System, especially in the area of preventing data loss and creating a convenient operation system. Restaurant Management System is developed by Microsoft Visual Studio 2015. Then C# is employed to programming and Microsoft SQL Server 2017 is used as a server for database administration. Restaurant Management System can be used for data collection, such as Table Reservation, Inventory Counting, Food Recipe Adding and Summary Report. As a result, not only the Restaurant Management System can increase the accuracy of the service, but it also reduces flaws that might occur within the system. Furthermore, it simplifies the order and effectively improves the stock management.
Keywords: Restaurant Manage, Reservation Restaurant, Inventory Counting.
ระบบจัดการร้านอาหาร | Restaurant Management System
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Information Technology, Siam University, ฺBangkok, Thailand