- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- การออกแบบท่อโสโครก ท่อนํ้าเสีย ท่ออากาศ ของอาคารทาวน์โฮม: กรณีศึกษาโครงการ BAAN 365 พระราม 3
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การออกแบบท่อโสโครก ท่อนํ้าเสีย ท่ออากาศ ของอาคารทาวน์โฮม: กรณีศึกษาโครงการ BAAN 365 พระราม 3 The Design of Soil Pipe Waste Pipe and Vent Pipe of a Townhome A Case Study of the BAAN 365 Rama III Project |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายภาคิน ปัญจวัฒนคุณ Mr. Pakin Punjawattanakun |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr. Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2561 3/2018 |
การอ้างอิง/citation
ภาคิน ปัญจวัฒนคุณ. (2561). การออกแบบท่อโสโครก ท่อนํ้าเสีย ท่ออากาศ ของอาคารทาวน์โฮม: กรณีศึกษาโครงการ BAAN 365 พระราม 3. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานนี้เป็นการนำเสนอการออกแบบท่อโสโครก ท่อน้ำเสีย และท่ออากาศ ที่ใช้ในโครงการ BAAN 365 พระราม 3 ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการออกแบบท่อโสโครก ท่อน้ำเสียและท่ออากาศ ซึ่งในการออกแบบครั้งนี้ จะใช้ตารางมาตรฐานการออกแบบท่อ ตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันการติดตั้งท่อน้ำโสโครก ท่อระบายน้ำทิ้ง และท่ออากาศ ยังมีปัญหาในการออกแบบขนาดและข้อต่อที่ยังไม่สามารถออกแบบให้ตรงตามมาตราฐาน ซึ่งยังไม่มีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายและสิ้นเปลืองงบประมาณในการแก้ไข และเพื่อการแก้ไขปัญหาสำหรับการออกแบบท่อโสโครก ท่อน้ำเสีย และท่ออากาศ นักศึกษาสหกิจจึงเล็งเห็นความสำคัญของการออกแบบ โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างแบบและแบ่งช่วงระยะของท่อแต่ละเส้น เพื่อนำแบบมาเปรียบเทียบและใช้ในการออกแบบ เนื่องจากแบบทางหน้างานนั้นยังมีเปอร์เซ็นต์ในการออกแบบผิดพลาดอยู่ จากผลที่ได้จากแบบทางหน้างานพบว่า ท่อโสโครกในอาคาร นั้นมีขนาดท่อ 100 มิลลิเมตร ท่อน้ำเสียในอาคารนั้น มีขนาดท่อ 55 มิลลิเมตร และท่อ รวมน้ำเสียมีขนาด 80 มิลลิเมตร ท่ออากาศในอาคาร นั้น มีขนาดท่อ 55 มิลลิเมตร และความลาดเอียงของท่อในอาคาร มีความลาดเอียงอยู่ที่ 1/100 หลังการตรวจสอบตามมาตรฐานของสภาวศิวกร พบว่า ขนาดท่อโสโครกและท่อน้ำเสีย ในชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3และชั้น 4 มีขนาดสูงกว่ามาตรฐานอยู่เล็กน้อย ซึ่งจะทำให้มีอัตราการไหลของน้ำดีขึ้น ยกเว้น ขนาดท่อรวมในชั้นที่ 4 ซึ่งทางโครงการกำหนดให้ใช้ท่อรวมขนาด 80 มิลลิเมตร แต่เมื่อนำมาเทียบกับตารางมาตรฐานขนาดท่อแปรผันกับหน่วยสุขภัณฑ์ ท่อที่สมควรใช้คือขนาด 100 มิลลิเมตร และความลาดเอียงของท่อเมื่อนำมา
เปรียบเทียบตารางมาตรฐานความลาดเอียงของท่อต่อหน่วยสุขภณัฑ์แล้ว ท่อขนาด 55 มิลลิเมตร ควรมีความลาดเอียงอยู่ที่ 1/50 ตามตารางมาตรฐานความลาดเอียงของท่อ และถ้าโครงการมีการปรับเปลี่ยนขนาดและความลาดเอียงของท่อ ในการออกแบบครั้งนี้จะสามารถป้องกนั ความเสียหายและงบประมาณในการแก้ไขได้ถึง 1,749 บาท ต่อ ตารางเมตร
คำสำคัญ: การออกแบบ, การติดตั้ง, ท่อโสโครก, ท่อน้ำเสียและท่ออากาศ
Abstract
The purpose of this project was to present the design of sewage, wastewater, and air pipes used in the BAAN 365 Rama IlI project. The steps of designing sewage, wastewater and air pipes were shown. The pipes were designed based on the pipe design standard table, stipulated by the Engineering Institute of Thailand under H.M. the King’s Patronage. The current problem found was an unstandardized size of pipes and joints. This problem has not been solved Correctly, causing damage and budget waste. In order to solve the problem of designing these pipes, a student under the cooperative education project has seen the importance of the design and therefore initiated to develop package program to create a model of pipes and to divide distance between individual pipes for further comparison and design. It was important to redesign them because some errors in on-site layout were still found. The results of exploring on-site layout indicated that the size of sewage pipes in the building was 100 illimeters; the size of waste water pipes was 55 millimeters; the size of large integrated pipe was 80 millimeters; the size of air pipes was 55 millimeters. The slope of the pipes in the building was 1/100. After conducting the inspection, according to the standards of the Council of Engineers, the size of sewage pipes in the first, second, third, and fourth floors was slightly higher than the standard size. This leads to better water flow rate, except in the case of the size of integrated piping on the fourth floor (prescribed size of 80 millimeters). However, when sizes of pipes were compared with the table of standard pipe size, that was proportional to sanitary ware unit, the suitable pipe for use was a 100-mm pipe. When comparing with the standard slope of the pipe per sanitary unit, the slope of 55-mm pipe should be 1/50 according to the slope standard of pipe. If the project has changed the size and slope of the pipes, this design can prevent damage and save the budget by up to 1,749 Baht per square meter.
Keywords: design, installation, sewage pipe, wastewater pipe, air pipe.
การออกแบบท่อโสโครก ท่อนํ้าเสีย ท่ออากาศ ของอาคารทาวน์โฮม: กรณีศึกษาโครงการ BAAN 365 พระราม 3 / The Design of Soil Pipe Waste Pipe and Vent Pipe of a Townhome A Case Study of the BAAN 365 Rama III Project
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related by advisor:
- การตรวจสอบและปรับปรุงข้อผิดพลาดในระบบท่อดับเพลิง: กรณีบริษัท ไพโอเนียร์ โลจิสติกส์ จำกัด
- การสร้างเครื่องสูบน้ำจากวัสดุเหลือใช้
- การหาค่าความปลอดภัยของท่อทองแดงในระบบก๊าซทางการแพทย์ กรณีศึกษา สถานีกาชาดที่ 11
- วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
- การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบระบบท่อประปาโดยใช้ท่อพีวีซีและท่อพีพีอาร์ในโครงการโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน
- การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค
- การลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบท่อน้าประปาและท่อน้าร้อน: กรณีศึกษาโครงการ สินธรวิลเลจ ตึก (เอพี-ดับบลิว)