การสร้างและทดสอบเครื่องทำความดันลบแบบพกพา

Last modified: March 9, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การสร้างและทดสอบเครื่องทำความดันลบแบบพกพา
Creating and testing portable negative pressure generator
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ธนาธร สุดสังข์ และ วุฒินันท์  เวียงอินทร์        
Tanatorn Sudsang, Wutthinan​ Wiangin​
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย
Dr. Chanchai Wiroonritichai
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
Bachelor of Engineering
ภาควิชา:
Major:
วิศวกรรมเครื่องกล
Mechanical Engineering
คณะ:
Faculty:
วิศวกรรมศาสตร์
Engineering
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2/2563
2/2020

การอ้างอิง|Citation

ธนาธร สุดสังข์ และวุฒินันท์  เวียงอินทร์. (2563). การสร้างและทดสอบเครื่องทำความดันลบแบบพกพา. (โครงงาน). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Sudsang T., & Wiangin​ W. (2020). Creating and testing portable negative pressure generator. (Project). Bangkok: Faculty of Engineering, Siam University.


บทคัดย่อ

โครงงานการสร้างและทดสอบเครื่องทำความดันลบแบบพกพา มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตเครื่องทำความดันลบให้มีขนาดเล็กพกพาได้ง่าย หลักการทำงานของเครื่องทำความดันลบแบบพกพา เริ่มต้นโดยการเติมของเหลวเข้าไปในถุงน้ำเกลือให้เต็ม ต่อสายยางทางด้านนำเข้ากับถุงน้ำเกลือ และสายยางทางด้านส่งออกลงในบิกเกอร์ เปิดเครื่องเพื่อตั้งค่าระบบการทำงานของเซ็นเซอร์ให้อยู่ในหน่วยมิลลิเมตรปรอท เมื่อเริ่มการทดลองให้ตั้งค่าระดับความดันลบที่ -50 มิลลิเมตรปรอท, -100 มิลลิเมตรปรอท, -150 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ ทำการทดลองตามระดับความดันลบ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที ทำการจดบันทึกค่าของเหลวที่อยู่ในบิกเกอร์ทุกครั้งของการทดลอง และเติมของเหลวให้เต็มถุงน้ำเกลือทุกครั้งก่อนการทดลองในครั้งต่อไป

ผลการทดลองพบว่าได้ค่าอัตราการไหลในแต่ละระดับความดันลบ ดังนี้ -50 มิลลิเมตรปรอท ได้ค่าอัตราการไหล 63.33 มิลลิลิตรต่อนาที, -100 มิลลิเมตรปรอท ได้ค่าอัตราการไหล 73.33 มิลลิลิตรต่อนาที และ -150 มิลลิเมตรปรอท ได้ค่าอัตราการไหล 85 มิลลิลิตรต่อนาที จะเห็นได้ว่ายิ่งเพิ่มความดันลบค่าอัตราการไหลก็จะเพิ่มตามค่าความดันลบที่เพิ่มขึ้น  การที่เครื่องทำความดันลบมีอัตราการไหลที่ไม่เท่ากัน อาจเกิดจากการซีลอุปกรณ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควรทำให้มีอากาศเข้าไปในระบบ

คำสำคัญ : เครื่องทำความดันลบแบบพกพา, ถุงน้ำเกลือ, สายยาง


Abstract

The objective of this project was to study the mechanisms of the negative pressure generator and to design and manufacture the negative pressure machine to be small, easy to carry. The principle of operation of the portable negative pressure generator begins by filling the liquid into the saline bag, attaching the hose on the suction side to the saline sac, and spitting the hose into the bicker, turning it on to set the sensor’s operation system inside mmHg. At the start of the experiment, the authors set the negative pressure level to -50 mmHg, -100 mmHg, -150 mmHg, respectively. Conducted a negative pressure test 3 times at a time, took note of the liquid value contained in the biker every time of the experiment, and filled the saline sack every time before the next trial.

The testing results showed that the flow rate was obtained in each negative pressure quenching as follows:  -50 mmHg condition yielded a flow rate of 63.33 mL/min, -100 mmHg condition yielded a flow rate of 73.33 mL/min, and -150 mmHg condition yielded a flow rate of 85 mL/min. Obviously, the more negative the pressure, the increase in the flow rate, the increase in the negative pressure value. The negative pressure machine had an unequal flow rate, which can be caused by not sealing the device as well as it should cause agas to enter the system.

Keywords: Portable Negative Pressure Making Machine, Saline Bag, Hose.


การสร้างและทดสอบเครื่องทำความดันลบแบบพกพา|Creating and testing portable negative pressure generator

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok,  Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 291
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code