- KB Home
- กลุ่มสาขาวิชา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์|Social Sciences and Humanities Group
- ค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้จากน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
ค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้จากน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่ Ichigo Candy Cocktail from Homemade Strawberry Syrup |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นาย ธีรพงศ์ อินต๊ะจักร Mr. Thiraphong Intajak |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์นันทินี ทองอร Miss Nantinee Thongorn |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2562 2/2019 |
การอ้างอิง/citation
ธีรพงศ์ อินต๊ะจักร. (2562). ค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้จากน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้จากน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่(Ichigo Candy Cocktail from Homemade Strawberry Syrup) จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำน้ำเชื่อมจากสตรอเบอร์รี่ที่เหลือใช้จากการตกแต่งเครื่องดื่มในแต่ละวันของห้องอาหารซีนเรสเตอรองท์แอนด์ บาร์ (Seen Restaurant and Bar) ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยลดปริมาณของเหลือใช้จำพวกผลไม้สด และยังสามารถนำน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่นี้ไปใช้กับเครื่องดื่มตัวอื่นได้อีก นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องดื่มทางเลือกใหม่ให้กับสถานประกอบการและลูกค้าในการนำไปขายได้อีกทางหนึ่ง
หลังจากได้ทำการทดลองค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้นี้ ผู้จัดทำได้ทำการสำรวจความคิดเห็นโดยการทำแบบสอบถามความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานของโรงแรมและบุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตภาษีเจริญเป็นจำนวนทั้งสิ้น 30 คน เพื่อให้ทราบถึงผลของโครงงานผลการศึกษาพบว่า ด้านหน้าตาของค็อกเทล สีของค็อกเทล ปริมาณต่อแก้วและความแปลกใหม่ของค็อกเทลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และในด้านรสชาติ การนำไปขายจริง การลดต้นทุนในการซื้อน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่และการลดการเหลือใช้สตรอเบอร์รี่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโครงงานค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้ มีความพึงพอใจรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: ค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้, น้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่
Abstract
The Ichigo Candy Cocktail from Homemade Strawberry Syrup project was constructed to examine the process of making syrup from remaining strawberries of decorated beverages each day at Seen Restaurant and Bar. The project also helped to decrease leftover fresh fruit, and to gain advantages from using strawberry syrup with other beverages. Moreover, Ichigo Candy Cocktail was a new choice of beverage for customers.
During the experiment, the author surveyed samples by creating a questionnaire. The samples consisted of hotel staff and Phasi Charoen’s residents, 30 people. The results showed that the satisfaction level for the appearance, color, portion, and uniqueness was high. The satisfaction level for taste, real application, reducing cost, and reducing the leftover strawberry was very high. In conclusion, the satisfaction level for Ichigo Candy Cocktail from Homemade Strawberry Syrup project was very high.
Keywords: Ichigo Candy Cocktail, Homemade Strawberry Syrup.
ค็อกเทลอิจิโกะแคนดี้จากน้ำเชื่อมสตรอเบอร์รี่ | Ichigo Candy Cocktail from Homemade Strawberry Syrup
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand