ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก

Last modified: August 25, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก
People’s Opinion on the Image of the Police Performance at the Muangphitsanulok Police Station
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ร.ต.อ.หญิง ภคพร  ศรีวิลัย
Pol. Capt. Pakaporn Sriwilai
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร.เมฆินทร์  เมธาวิกูล
Asst. Prof. Dr. Mekin Methawikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020

การอ้างอิง/citation

ภคพร  ศรีวิลัย. (2562). ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์ด้าน    การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก เป็นอย่างไร  2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล       ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลกหรือไม่ อย่างไร และ 3) แนวทางพัฒนาภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลกควรเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สภ.เมืองพิษณุโลก จำนวน 400 คน จาก 17 ตำบล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ ได้แก่ T-test และ F-test  กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก ภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลิกภาพ มีระดับภาพลักษณ์ในระดับดี และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (𝑋 ̅ = 3.69  และ S.D. = 1.055) รองลงมาคือด้านการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการประชาชน มีค่าเฉลี่ย (𝑋 ̅ = 3.46  และ S.D. = 0.970) และด้านความสัมพันธ์กับประชาชนหรือชุมชน มีค่าเฉลี่ย (𝑋 ̅ = 3.45  และ S.D. = 1.017) ตามลำดับ

สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชน แต่ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย พบว่า หากสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลกต้องการเพิ่มระดับภาพลักษณ์ให้อยู่ในระดับที่ดียิ่งขึ้น เห็นควรปรับปรุงในหัวข้อที่ได้รับการประเมินในระดับพอใช้และหัวข้อที่มาจากคำถามปลายเปิด เช่น ด้านบุคลิกภาพ ควรปรับปรุงลักษณะท่าทางให้มีความสุภาพ ไม่ถือตัว ถือยศ ถือตำแหน่ง การควบคุมอารมณ์ ไม่ฉุนเฉียวหรือโกรธง่าย ด้านการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการประชาชน ปรับปรุงเรื่องการรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน การมีความอดทน อดกลั้นต่อการถูกยั่วยุอารมณ์ และด้านความสัมพันธ์กับประชาชนหรือชุมชน เพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการกุศลของชุมชน การพัฒนาสาธารณสถานในชุมชน การส่งเสริมการกีฬาและสุขภาพอนามัย เป็นต้น

คำสำคัญ: ความคิดเห็น, ภาพลักษณ์, สภ.เมืองพิษณุโลก


Abstract

This research aimed to study factors related to people’s opinions towards performance image of police officers in Muangphitsanulok Police Station. The objectives of this research were: 1) to study the performance image of police officers in Muangphitsanulok Police Station; 2) to study the relationship between different personal factors and the performance image of police officers in Muangphitsanulok Police Station; and 3) to propose the guidelines to develop the performance image of police officers in Muangphitsanulok Police Station. This study was  quantitative research, and a questionnaire was used as a tool for collecting data the samples of 400 people from 17 sub-districts under the supervision of Muangphitsanulok Police Station. Data collected were then analyzed using statistics, including t-test and F-test with a given statistical significance level of .05 level.

The research results indicated that overall opinions towards performance image was at a good level. When individual aspects were considered, personality image was at a good level with the highest mean   (x̄ = 3.69, S.D. = 1.055), followed by duties and public services  (x̄ = 3.46, S.D. = 0.970), and relationship with people or community   (x̄ = 3.45, S.D. = 1.017), respectively.

In terms of personal factors, gender was not related to the respondents’ opinions towards performance image of police officers in Muangphitsanulok Police Station. However, age, education level, occupation, and monthly income were related with statistical significance level of 0.05.

The recommendations from the research included that if Muangphitsanulok Police Station wishes to raise their image to a higher level, they should improve themselves based on the topics they were assessed at a fair level, and the topics obtained from open-ended questions; for example, personality. They should improve their personality to be more polite, down-to-earth, be able to control their emotions and not to be easily hot-tempered. In relation to their duties and services, they should improve themselves to listen more to people’s criticism, be more patient with any action that can cause a bad temper. With regard to relationship with people or communities, they should increase their participation in charitable activities of communities, development of public places in communities, promoting sports, health and well-being, etc.

Keywords: Police, Performance, personality, Muangphitsanulok Police Station.


ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก | People’s Opinion on the Image of the Police Performance at the Muangphitsanulok Police Station

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1803
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code