การพัฒนาแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม

Last modified: July 21, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การพัฒนาแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม
Research Article: Siam University Navigator Application Development
ผู้เขียน|Author: ธนาภรณ์ รอดชีวิต, ปริวรรต องค์ศุลี, คุณากร กล้าอาษา และภัทรพล คิ้วอำไพ| Thanaporn Rodcheewit, Pariwat Ongsulee, Kunakorn Kla-asa and Pattharapol Khewampai
Email: thanaporn.rod@siam.edu ; pariwat@siam.edu
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Computer Science, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 “พลิกโฉมนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสุขภาพในยุค Next Normal” วันที่ 20 มิถุนายน 2565 (ออนไลน์) มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม | 6th Conference 2021, June 20, 2022 (online), Christian University, Nakhon Pathom

การอ้างอิง|Citation

ธนาภรณ์ รอดชีวิต, ปริวรรต องค์ศุลี, คุณากร กล้าอาษา และภัทรพล คิ้วอำไพ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 “พลิกโฉมนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสุขภาพในยุค Next Normal” (หน้า 423-437). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Rodcheewit T., Ongsulee P., Kla-asa K., & and Khewampai P. (2022). Siam University navigator application development. In 6th Conference 2021 (pp. 423-437). Nakhon Pathom: Christian University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันนำทางภายในมหาวิทยาลัยสยาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาเข้าใหม่ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 29 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันนำทางแบ่งกลุ่มผู้ใช้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ดูแลระบบ 2. นักศึกษา พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Cross Platform สามารถทำงานได้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และไอโอเอส เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ Flutter และภาษา Dart ใช้โครงสร้างข้อมูลตามหลักการของ NoSQL Database โดยใช้ Firebase และพัฒนาแอปพลิเคชันนำทางโดยใช้หลัก System Development Life Cycle (SDLC) ซึ่งจากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60 จากผลการพัฒนาและศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า การนำแอปพลิเคชันไปใช้งานนั้นสามารถช่วยทำให้การนำทางนักศึกษาที่เข้าใหม่สามารถเดินทางไปยังอาคารและสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างถูกต้อง และยังทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทราบถึงรายละเอียดข้อมูลอาคารสถานที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

คำสำคัญ: แอปพลิเคชันนำทาง, อาคาร, สถานที่, มหาวิทยาลัยสยาม


ABSTRACT

The objectives of this research are 1) Siam University Campus Navigator System 2) Survey the users’ satisfactory for this application. Tools – Questionnaire. Research statistics are mean and standard deviation. The sample group are 30 Computer Science first year students and one system administrator. Results: The development of navigation applications is divided into 2 groups of users: 1. Administrator 2. Students. The cross-platform application that can be installed in both Android and iOS devices using Flutter as a tool, Dart as a development language and Firebase on a principle of NoSQL database management system. And Develop navigation applications using System Development Life Cycle (SDLC) principles. Users’ satisfactory score: highly (mean 4.21, standard deviation 0.6). Overall, the application can be used to help assist new students to their destinations.

Keywords:  Navigator Application, building, location, siam university.


Siam University Navigator Application Development

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 348
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print