- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์
- การพัฒนาเครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ตามโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา สถาบันวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ชื่อบทความ: | การพัฒนาเครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ตามโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา สถาบันวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม |
Research Article: | The Development of Instrument for Printing Industry According to The Project Cooperative Education of Student Institute of Printing Engineering Faculty of Engineering Siam University |
ผู้เขียน/Author: | พิทักษ์พงษ์ บุญประสม, สามารถ ใจซื่อ, สราวุฎฐ์ วรสุมันต์ | Pitagpong Boonprasom, Samart Jaisue, Saravudh Varasumanta |
Email: | pitagpong@siam.edu, S.Jaisue@siam.edu, saravudh@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | ภาควิชาวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty: | Faculty of Printing Engineering, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | การประชุม International and National Conference on Engineering Education ครั้งที่ 17 |
การอ้างอิง/citation
พิทักษ์พงษ์ บุญประสม, สามารถ ใจซื่อ และ สราวุฎฐ์ วรสุมันต์. (2562). การพัฒนาเครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ตามโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา สถาบันวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุม International and National Conference on Engineering Education ครั้งที่ 17 (หน้า 110-122). นครปฐม: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการศึกษาพัฒนาเครื่องมือวัดรองหนุนของโมแม่พิมพ์และโมผ้ายางของเครื่องพิมพ์ออฟเซต ตามโครงการสหกิจศึกษาของ สถาบันวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับบริษัท เอส เอ็ม กราฟฟิค เซ็นเตอร์ จำกัด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดรองหนุนที่ผลิตขึ้นภายในประเทศแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนต้นแบบเพื่อใช้ทดลองควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ระหว่างการพิมพ์ครั้งแรกโดยไม่ใช้เครื่องมือวัดปรับตั้งระยะรองหนุนโมผ้ายางเปรียบเทียบกับการพิมพ์ครั้งที่สองใช้เครื่องมือวัดปรับตั้งระยะรองหนุนโมผ้ายาง ผลการวิจัยพบว่างานพิมพ์ครั้งแรกเส้นแนวขนานกับการหมุนของทั้ง 4 สี มาร์คไม่ตรงกัน เทียบกับการพิมพ์ครั้งที่สองเส้นแนวขนานกับการหมุนของทั้ง 4 สี มาร์คอยู่ตรงกัน งานพิมพ์มีความคมชัดมากขึ้นและมีผลการประเมินโดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นต่อการใช้เครื่องมือวัดมีผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53
คำสำคัญ: เครื่องมือวัดรองหนุน, โมแม่พิมพ์, โมผ้ายาง, เครื่องพิมพ์ออฟเซต
ABSTRACT
This paper presents the development of the packing gauge of plate cylinder and blanket cylinder in printing press. Collaboration between Printing Engineering Institute of Printing Engineering Faculty of Engineering Siam University in conjunction with S.M. Graphic Center Co., LTD. Research’s objective for develop the packing gauge that are manufactured locally instead of importing from foreign countries. By designing and creating prototype packing gauge to test the quality of press. This is to compare the printing quality between the first printing which measures the value of the rubber blanket and did not set up the distance of the blanket packing and the second printing which adjusts of blanket for the equal distance of the blanket for all cylinders. Findings of the first printing showed that the mark of 4 color out of register compared with the second printing, mark of 4 color perfect register printing quality higher. The expert evaluation they got a mean at 4.62 and standard deviation at 0.53 both are a good criterion.
Keywords: Packing gauge, Plate cylinder, Blanket cylinder, Offset printing press.
The Development of Instrumentการพัฒนาเครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ตามโครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษา สถาบันวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand