การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาชุมชนจากผักตบชวาโดยนำมาทำกระถางต้นไม้คอนกรีต

Last modified: December 1, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาชุมชนจากผักตบชวาโดยนำมาทำกระถางต้นไม้คอนกรีต
Application of Design Thinking Process for Community Problem Solving from Water Hyacinth by Making Plant Concrete Pots
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายปภาวิน ศรีพล
Mr. Paphawin Sriphon
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี
Assistant Professor Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่10 ประจำปี 2562 | The 10th Conference on Industrial Operations Development 2019 (CIOD 2019) 17 พฤษภาคม 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การอ้างอิง|Citation

ปภาวิน ศรีพล. (2564). การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาชุมชนจากผักตบชวาโดยนำมาทำกระถางต้นไม้คอนกรีต. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Sriphon P. (2021). Application of design thinking process for community problem solving from water hyacinth by making plant concrete pots. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาเน้นแนวคิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชุมชน โดยนำวัชพืชจากผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างยั่งยืน 2) ขั้นตอนการเรียนรู้และวิธีการทำกระถางต้นไม้จากผักตบชวา โดยทดลองว่ากระถางต้นไม้จากผักตบชวาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง และ 3) ทดสอบกำลังอัดของกระถางคอนกรีตเสริมเส้นใยผักตบชวาในเบื้องต้น

โดยมีขั้นตอนการศึกษาวิจัยดังนี้ 1) วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติ ทำการประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบสำหรับการแก้ปัญหาชุมชน เริ่มต้นจากการลงพื้นที่ เมื่อพบเจอปัญหาก็จะกลับมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชนโดยวิธีการระดมสมองแบบเขียนคิดวิเคราะห์สาเหตุ คัดเลือกวิธีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เป็นระบบ และนำข้อสรุปจากชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยสร้างนวัตกรรมใหม่ และ 2) วิธีการวิจัยเชิงทดลอง ทำการทดลองหาส่วนผสมกระถางคอนกรีตผสมเส้นใยผักตบชวาบดละเอียดหาคุณสมบัติเชิงกลตามแผนการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบสามารถได้รับความร่วมมือแก้ปัญหาชุมชนได้เป็นผลอย่างดี จากผลการทดลองพบว่าส่วนผสม Type B5 เหมาะสมสำหรับทำกระถางโดยมีความต้านแรงอัดของคอนกรีตเฉลี่ยเท่ากับ 8.27 MPa. สูงกว่ามาตรฐานที่ 7 MPa. และ มีราคาต้นทุนต่อกระถางที่ใช้ในการเปรียบเทียบเท่ากับ 75.99 บาท ในขณะที่กระถางปกติต้นทุนเท่ากับ 150 บาท ประหยัดกว่าร้อยละ 49.34 ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อลดปริมาณขยะจากผักตบชวาในชุมชนและงบประมาณค่าใช้จ่ายภาครัฐ เกิดความภูมิใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต

คำสำคัญ: การคิดเชิงออกแบบ, ผักตบชวา, กระถางต้นไม้ 


Abstract

The objectives of this research were to: 1) apply design thinking process in problem solving. The concept of community participation was utilized to find the most benefit for using hyacinths. It could be an example of a sustainable solution to community problems; 2) learn the process to make pots from the hyacinths and test for practical usage; and 3) test the compressive strength of the hyacinth fiber reinforced concrete pots.

Action research method was used by applying design thinking processes for solving community problems from water hyacinths. It started with visiting the area that encountered the problems and acknowledging the problems to find a solution with the community by recording through a brainstorming method and considering the root causes and solutions for the problems systematically. The collective ideas and possible solutions were brought to the community to develop products and create innovations. Experimental research method was conducted to find a mixture of concrete pots with finely ground water hyacinths fibers. The mechanical properties were found as experimental design.

The results found that the design thinking process could be applicable in problem solving through participation of people in the community. From the experimental results, it was found that Type B5 mixture was suitable for making concrete pots with average compressive strength of 8.27 MPa., higher than the standard of 7 MPa. The cost per pot used in the comparison was 75.99 Baht. Whereas the normal cost was 150 Baht, saving up to 49.34%. The study results could be utilized as a guideline to reduce the problems of water hyacinth waste, reduce government budget expenditures, create an improved community environment and bring pride to those involved. It is recommended that the community should promote the solutions and be presented to OTOP for their products or sustainable solutions for community problems faced in the future.

Keywords:  Design Thinking, Water Hyacinth, Plant Concrete Pots.


การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาชุมชนจากผักตบชวาโดยนำมาทำกระถางต้นไม้คอนกรีต|Application of Design Thinking Process for Community Problem Solving from Water Hyacinth by Making Plant Concrete Pots

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1474
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles