- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- การประเมินสภาพอุปกรณ์บนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยวิธีการตัดสินใจด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น
หัวข้อปริญญานิพนธ์: Project Title: |
การประเมินสภาพอุปกรณ์บนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยวิธีการตัดสินใจด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น Condition Evaluation of Transmission System Components Using Analytic Hierarchy Process |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวอภิสรา แสงขำ Miss Apissara Saengkhum |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ นาราษฎร์ Asst. Prof. Dr. Yongyuth Naras |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมไฟฟ้า Electrical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2563 2020 |
การอ้างอิง/citation
อภิสรา แสงขำ. (2563). การประเมินสภาพอุปกรณ์บนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยวิธีการตัดสินใจด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น. (โครงงาน). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์นี้นำเสนอในเรื่องการประเมินสภาพและจัดลำดับความสำคัญของระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงรวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยในการลดต้นทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา โดยระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจะแบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ตามลักษณะการใช้งานดังนี้ ฉนวน ส่วนที่กระแสไหลผ่าน โครงสร้างและฐานราก ส่วนป้องกันฟ้าผ่า และอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีอุปกรณ์ย่อยต่าง ๆ ประกอบอยู่ เงื่อนไขของการประเมินระบบสายส่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์แบ่งได้ 6 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ความเครียดการใช้งาน อาการเสีย ประเภทการล้มเหลว เทคโนโลยีล้าสมัย รวมถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การประเมินจะใช้การให้คะแนนและน้ำหนัก โดยนำทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจเชิงลำดับชั้นมาประยุกต์ใช้หาน้ำหนักของแต่ละกลุ่มและปัจจัยออกมา
หลังจากได้ค่าน้ำหนักออกมาจึงทำการให้คะแนนสภาพของอุปกรณ์ย่อยในแต่ละกลุ่มตามปัจจัยที่กล่าวมาตอนต้น จะทำให้ได้สภาพของอุปกรณ์หลัก (%Sj) เมื่อได้สภาพของอุปกรณ์หลักแล้วนำมาคำนวณหาดัชนีสุขภาพของกลุ่มอุปกรณ์หลัก (%HI) จากนั้นจะนำเอาดัชนีสุขภาพมาคำนวณหาดัชนีประสิทธิภาพของกลุ่มอุปกรณ์ (%EPI) ในท้ายที่สุดจะคำนวณหาดัชนีปรับปรุง (%ERI) ทำให้รู้ว่าระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงอยู่ในสภาพใดและสามารถวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: คำนวณหาดัชนีสุขภาพของกลุ่มอุปกรณ์, คำนวณหาดัชนีประสิทธิภาพของกลุ่มอุปกรณ์
Abstract
This thesis presented a performance assessment of high voltage transmission lines including sub-components in order to manage and effective maintenance with a low maintenance costs. The high voltage transmission line was divided into five sub-components, such as insulation, current carrying, construction and foundation, lightning protection and accessories. Each sub-components could be separated into sub-equipment. The condition evaluation of the transmission line was classified into six criteria, such as age, stress, symptom, failed type, obsolescence including safety and environment. Weight and score technique was applied to the evaluation. The Analysis Hierarchy Process (AHP) was applied to calculate weight of each group and criteria.
After weight and score were given, conditioning sub-equipment (%Sj), health index (%HI), equipment performance index (%EPI) and finally renovation index (%ERI), the calculated data was used to identify the maintenance scheduling the high voltage transmission line.
Keywords: weight and score, health index, equipment performance index.
การประเมินสภาพอุปกรณ์บนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยวิธีการตัดสินใจด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลําดับชั้น | Condition Evaluation of Transmission System Components Using Analytic Hierarchy Process
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related
- ระบบอัตโนมัติสำหรับรายงานอุณหภูมิและอัตราการไหลของน้ำในเครื่องจักรผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: บริษัทเอสเค โพลิเมอร์ จำกัด
- การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด
- การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา: กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี
- การทดสอบการอัดและคายประจุของแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรดเพื่อประเมินสมรรถนะของแบตเตอรี่
- การออกแบบและติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบออนกริด
- การออกแบบและติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้โซล่าเซลล์แบบออฟกริด
- การออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์แบบอัตโนมัติควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (พีแอลซี)
- อุปกรณ์และการติดตั้งระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้า