- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- -สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- การออกแบบและคํานวณการรับน้ําหนักโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด12.192 x 2.438×4.020 m
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การออกแบบและคํานวณการรับน้ําหนักโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด12.192 x 2.438×4.020 m Design and Calculation for Structure of Container Size 2.438×12.192×4.020 m |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายเกริกพล ลี้โภคภิญโญ Mr. Gerkphon Leepokpinyo |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr. Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2563 1/2020 |
การอ้างอิง/citation
เกริกพล ลี้โภคภิญโญ. (2563). การออกแบบและคํานวณการรับน้ําหนักโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์ขนาด12.192 x 2.438×4.020 m . (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
ในการออกแบบโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 2.438×12. 192×4.020 เมตร จะมีการต่อเหล็ก ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของตู้คอนเทนเนอร์และทางบริษัท ยูไนเต็ด สตีลเวอร์ค จํากัด ไม่ทราบถึงความสามารถรับน้ำหนักได้ตามหลักวิศวกรรมดังนั้นจึงทําการวิเคราะห์โครงสร้างเดิม โดยใช้ไฟในต์เอลิเมนต์ในการวิเคราะห์ทางหลักการวิศวกรรมได้ค่าความปลอดภัยวัสดุเท่ากับ 1.619 และระยะโก่งตัวเท่ากับ 23.920 มิลลิเมตรซึ่งได้ค่าความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ ทางบริษัทต้องการลดระยะโก่งตัวของโครงสร้างให้น้อยลงจึงทําการออกแบบใหม่โดยมีเสาเพิ่มขึ้นจํานวน 2 ต้น ในตําแหน่ง กึ่งกลางโครงสร้างเดิมและใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในการวิเคราะห์โครงสร้างผู้ประกอบในแบบเดิม ขนาด 2.438×12.192×4.020 เมตร ที่สามารถรับน้ำหนักได้จริงทําการเปรียบเทียบกับ โครงสร้างใหม่ที่ออกแบบโดย อ้างอิงจากขนาดเดิมแต่จะวางเสาเป็นรูปแบบใหม่โดยใช้วิธี ไฟในต์เอลิเมนต์ในการวิเคราะห์ พบว่าโครงสร้างที่ออกแบบใหม่นั้นได้ค่าความปลอดภัยวัสดุ 1.831 และ สามารถรับน้ำหนักได้ 12,000 นิวตันต่อเมตร กระจายเมตรละ 1,000 นิวตัน จากการใช้วิธีไฟในต์เอลิเมนต์ในการวิเคราะห์ ทําให้โครงสร้างที่ออกแบบใหม่นั้นทําให้ระยะโก่งตัวเท่ากับ 2.086 มิลลิเมตร และมีค่าความปลอดภัย เท่ากับ 1.831 ดังนั้นในการออกแบบใหม่ทําให้มีระยะการโก่งตัวลดลง 21.834 มิลลิเมตร และมีค่าความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 0.212 มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2,682 บาทต่อตู้ โครงการนี้มีทั้งหมด 24 ตู้ จึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทั้งหมด 63,368 บาท
คำสำคัญ: ตู้ประกอบ, ตรวจสอบคุณภาพ, ไฟไนต์เอลิเมนต์
Abstract
In the container structure design size 2.438×12.192×4.020 m there was a straight line splice of steel, which was the main structure of the container and United Steel Work Co., Ltd. was not aware of the engineering load capacity. Structural analysis is performed and a finite element was used in engineering analysis with a material safety factor of 1.619 and a deflection of 23.920 mm was achieved. The company wanted to reduce the deflection of the structure so it was redesigned with two more columns positioned in the center of the original structure, and finite element method was used to analyze the original assembly structure where 2.438×12.192×4.020 m could actually hold the weight. A new structure design mode with Based for the original size, but a new type of pole was placed using the finite element analysis method. It was found that the newly designed structure obtained a material safety factor of 1.831 and was able to carry a weight of 12,000 N/m, distributed by 1,000 N/m per meter. This made the deflection of 2.086 mm and a safety factor of 1.831, so, the new design has a lower deflection of 21.834 mm and a safety factor of 0.212. There was an additional cost of 2,682 Bath per cabinet with a total of 24 cabinet in this project. This added an additional cost of 63,368 Bath.
Keywords: Container, Quality Control, Finite Element.
การออกแบบและคํานวณการรับน้ําหนักโครงสร้างตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด12.192 x 2.438×4.020 m | Design and Calculation for Structure of Container Size 2.438×12.192×4.020 m
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related
- การออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันของใบเลื่อยสายพาน: กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ.เอฟ. สเปเชียล สตีล จำกัด
- การศึกษาเปรียบเทียบภาระการคำนวณความเย็นของห้องนอนแต่ละประเภท กรณีศึกษาของโครงการ วินคอนโด พหลโยธิน
- การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น
- การกระจายตัวอุณหภูมิของผนังตู้รับส่งสัญญาณ
- การสร้างเครื่องสูบน้ำจากวัสดุเหลือใช้
- การหาค่าความปลอดภัยของท่อทองแดงในระบบก๊าซทางการแพทย์ กรณีศึกษา สถานีกาชาดที่ 11
- วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
- การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค