ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล

Last modified: October 14, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล
Factors marketing affecting the decision to study at the higher education level of the student of Prateep Pheepol Technology College
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวชูจิต รุจิพืช
Miss Choujit Rujipurt
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. รุ่งโรจน์ สงสระบุญ
Dr. Rungroje Songsraboon
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการตลาด
Marketing Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 3-4 ธันวาคม 2562

การอ้างอิง/citation

ชูจิต รุจิพืช. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล ที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการตลาดในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล (3) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล  จำนวน 300 คน  ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random samping)  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ  สถิติเชิงพรรณนา  ค่าสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเชิงอนุมาน  คือ  การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  โดยหาค่า T-test  และค่า F-test หรือค่า  (One Way ANOVA) และการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด  ใช้สถิติค่าสถิติสัมประสิทธิ์อย่างง่ายของเพียร์สัน   (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวส  มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01-3.50 รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ส่วนของปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (x̄ = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 4.13) รองลงมา ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 3.91) ด้านราคา อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 3.89) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 3.77) ตามลำดับ และส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล อยู่ในระดับมาก  (x̄ = 4.33)   ผลการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาความสัมพันธ์  ระหว่างปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล  มีความสัมพันธ์กัน เชิงบวกในระดับต่ำ  และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 คำสำคั: ปัจจัยทางการตลาด,   ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ, วิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล


Abstract

The objectives of this study were: (1) to study students’ personal factors, (2) to examine levels of marketing factors in higher education among students and  (3) to study the factors that influence their decisions in studying in higher education at Pateeppaleepol Technological College.     With the use of simple random sampling,  300  college students at  PateepaleepolTechnological College were selected for this study; descriptive statistics- percentage, average, Standard deviation were used. Inferential statistics was to compare between students’ personal factors and decisions to further their study in higher education by using T-test, F-test, and One-Way ANOVA to study factors affecting marketing mix by using Pearson Product Moment Correlation Coefficient.

The research found that the personal factors of the students at Pateeppaleepol Technological College were female, studied in vocational classes and had grade point average between 3.01 and 3.50. Their family income was around 10,001 to 15,000 baht per month. Factors affecting decisions to further study in higher education were high (x̄=3.92), followed by products (x̄=4.13),  promotion  (x̄=3.91),  price x̄=3.89),  and distribution channels (x̄=3.71), respectively.  Factors that influence the students’ decision to study in higher education at   Pateeppaleepol Technological College were also high. The comparison between the students’ personal factors and the factors affecting their decision to further study statistically showed significant difference at 0.05. The marketing factors that affected the students’ decision to study at Pateeppaleepol Technological College showed positive results and were in the same direction.

Keywords:  higher education, decision to study, Pateeppaleepol Technological College.


ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล | Factors marketing affecting the decision to study at the higher education level of the student of Prateep Pheepol Technology College

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทีปพลีผล

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 827
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code